ข้อสอบ BMAT Section 2 – Scientific Knowledge & Application
ข้อสอบ BMAT Section 2 เป็นข้อสอบความความรู้วิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 4 วิชา คือ Math 6 ข้อ, Physics 7 ข้อ, Chemistry 7 ข้อ, และ Biology 7 ข้อ รวมทั้งหมด 27 ข้อ เวลาในการทำข้อสอบ 30 นาที ซึ่ง Section 2 นี้จะวัดความรู้วิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมปลาย โดยลักษณะข้อสอบจะเป็น multiple-choice questions โดยอาจมี choices ให้เลือกมากถึง 8 choices จะเห็นได้ว่า จำนวนข้อสอบแต่ละวิชามีแค่ 6-7 ข้อ เท่านั้น หมายถึง ข้อสอบจะนำบางเรื่องมาออก ซึ่งระดับความยากนั้นมีความใกล้เคียงกับข้อสอบ IGCSE และ SAT Subject ซึ่งหากเตรียมตัวและทำ Past paper หรือข้อสอบเก่าบ่อย ๆ น้องจะพอรู้แนวทางของข้อสอบ รวมทั้งเรื่องที่มักออกเป็นส่วนใหญ่ แต่ทว่าเมื่อลองเทียบสัดส่วนจำนวนข้อที่มี 27 ข้อและเวลาแล้ว น้อง ๆ ต้องใช้ความเร็วในการทำข้อสอบเฉลี่ยต่อข้ออยู่ที่ข้อละประมาณ 1 นาทีเท่านั้น พี่แนะนำว่า ถ้าทำข้อใดไม่ได้ ควรข้ามไปและหากเวลาเหลือค่อยกลับมาทำอีกครั้ง ซึ่งพี่ ๆจาก House of Griffin ได้นำข้อมูลดี ๆ มาฝากผ่านบทความนี้ครับ เรามาเริ่มเจาะลึกที่ละวิชาใน Section 2 กัน ส่วนใครที่ต้องการทบทวนข้อสอบก็สามารถไปดูได้ที่ > สอบ BMAT Section 1Math
ข้อสอบ BMAT Math ใน Section 2 จะมีทั้งหมด 6 ข้อ เรื่องที่นำมาออกข้อสอบบ่อย ๆ ใน BMAT Math คือ 1. Algebra โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนที่ออกข้อสอบ- Calculation เช่น Indices and Surds, Order of Operations, Operators
- Factoring เช่น การแยก Factorในสมาการ Quadratic equation
- Equation การหา Solution ในสามารถต่าง ๆ เช่น Linear Equation, Quadratic Equation, Exponential Equation และ Rational Equation
วิธีคิด
จากโจทย์ The normal price of a camera is reduced by 20% หมายถึง ราคาขายของกล้อง ลดลง ไป 20% จากราคาปกติ (นั่นคือ Percent Change = -20) และ ราคาที่ขายกล้องไป คือ £180 ฉะนั้น ราคาปกติของกล้อง จะหาได้จากสูตร


จะตอบข้อ C
เห็นไหมครับว่าข้อสอบ Math ใน Section นี้ไม่ยากเลย สามารถเก็บคะแนนเต็มได้ ถึงแม้ว่าข้อสอบ BMAT Math จะเป็นข้อสอบที่ง่ายและมีจำนวนข้อน้อยที่สุด ถ้าเทียบกับวิชาอื่น ๆ ที่อยู่ใน Section เดียวกัน แต่ก็ไม่ควรประมาท ควรทำอย่างรอบคอบและระมัดระวังในการคำนวณ และควรทำคะแนนให้ได้มากที่สุด หรือควรถูกทุกข้อ เพราะนี่จะเป็นคะแนนที่ช่วยทำให้มีโอกาสในการติดแพทย์ได้สูงขึ้น
สุดท้ายนี้ จะขอฝากให้น้อง ๆ ท่องคำนี้ไว้ให้ขึ้นใจ ก่อนสอบ BMAT Math รอบคอบ ว่องไว ไม่ประมาท เน้นเก็บข้อง่าย ข้อร้าย ๆ ค่อยมาเคลียร์
Physics
สำหรับวิชา Physics ใน Section 2 มี 7 ข้อ โดยเรื่องที่มักออกข้อสอบมาสุดจะเป็น 7 หัวข้อ ดังนี้
1. Mechanics ได้แก่ เรื่อง kinematics, dynamics, work, energy, and power อาจมีการพูดถึงเรื่อง momentum บ้าง
2. Thermal physics มักจะออกเรื่อง heat transfer เป็นหลัก
3. Matter ออกเรื่อง density เป็นหลัก
4. Electricity มักจะออกเรื่อง electric charges และเรื่อง circuits โดยจะพูดถึงวงจรไฟฟ้ากระแสตรงเป็นหลัก
5. Magnetism ออกเรื่อง transformers เป็นหลัก อาจมีการพูดถึงเรื่อง electromagnetic induction บ้าง
6. Waves มักถามเกี่ยวกับ wave equation, reflection and refraction, electromagnetic waves รวมไปถึงเรื่อง sound
7. Radioactivity เน้นเรื่อง radioactive decay and half-life
จากการศึกษาข้อสอบ BMAT Physics พบว่ามีสัดส่วนการออกดังต่อไปนี้

จะเห็นว่ามีหัวข้อที่ออกมากที่สุด 4 หัวข้อ ได้แก่ Mechanics, Electricity, Waves และ Radioactivity โดยลักษณะข้อสอบจะเป็น multiple-choice questions โดยอาจมี choices ให้เลือกมากถึง 8 choices
เรามาดูตัวอย่างข้อสอบ BMAT Physics ในเรื่องที่ออกบ่อยมาก เช่น เรื่อง Wave กันครับ ตัวอย่างข้อสอบที่เคยออกเป็นดังนี้
ตัวอย่างด้านบนเป็นข้อสอบจริงในปี 2008 Section 2 ข้อ 7 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Waves โดยข้อนี้ถามเวลาที่คลื่นเดินทางได้ 100 เมตรในวัสดุนี้ โดยต้องเริ่มจากการหาอัตราเร็วของคลื่น (V) ก่อน ซึ่งต้องใช้สมการ V=fλ เป็นสมการสำคัญที่ต้องจำให้ได้ก่อนเข้าสอบ BMAT โดย f เป็นความถี่ของคลื่น ในข้อนี้ คือ 50 Hz ส่วน λ คือความยาวคลื่น ในข้อนี้ คือ 0.40 m จะได้ค่า v = 50×0.40 = 20m/s จากนั้นนำระยะทางที่โจทย์ให้มาหารด้วยอัตราเร็วจะได้เวลาตามสูตร t = s/v จะได้เวลาเป็น t = 100/20 = 5.0 s จึงตอบข้อ E
ในปีล่าสุด คือ ปี 2020 ก็มีข้อสอบออกมา 7 ข้อ เช่นเดียวกัน โดยพบว่าแนวข้อสอบไม่ได้แตกต่างจากข้อสอบเก่าในช่วง 10 ปีล่าสุดเท่าไหร่นัก สิ่งที่แตกต่างก็คือ 7 ข้อนี้ครอบคลุมทั้ง 7 หัวข้อ (หัวข้อละ 1 ข้อพอดี) แตกต่างจากปีก่อน ๆ ตรงที่ บางปีก็ไม่ออกหัวข้อ Thermal Physics, Matter หรือ Magnetism แต่ไปออกเรื่อง Mechanics, Electricity, Waves หรือ Radioactivity 2 ข้อต่อปี นอกจากนั้นปี 2020 ยังมีการออกเรื่อง Electromagnetic Induction ซึ่งแทบจะไม่ถูกพูดถึงเลยในข้อสอบปีก่อน ๆ
ข้อความระวังในการทำโจทย์วิชาฟิสิกส์ ได้แก่ เรื่องหน่วย โดยนักเรียนต้องสามารถแปลงหน่วยในระบบเอสไอ (SI) ได้ รวมไปถึงจำหน่วยฐานเอสไอที่ใช้บ่อย ๆ ได้ เช่น เมตร วินาที กิโลกรัม และแอมแปร์ รวมไปถึงต้องระมัดระวังโจทย์ที่แบ่งเป็นข้อย่อย ๆ (1, 2, 3) แล้วมีการถามว่าข้อได้ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ซึ่งนักเรียนต้องมีความรู้เป็นอย่างดีในหัวข้อนั้น ๆ มักเจอโจทย์แนวนี้ให้หัวข้อ Waves
Chemistry
สำหรับวิชา Chemistry มี 7 ข้อ โดยครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด 9 หัวข้อหลักคือ
1. Periodic table and Atomic structure
2. Bonding
3. Stoichiometry
4. Rate of reaction and Kinetics
5. Equilibrium
6. Electrochemistry
7. Organic chemistry
8. Acid Base
9. Experiment
โดยข้อสอบ Chemistry จะ มี 4 Topic ที่ออกบ่อยมากที่สุดคือ
1. Periodic table and Atomic structure เน้นการเขียนสูตร Ionic compound
2. Stoichiometry (บางปีออกถึง 2-3 ข้อ) มักให้ Reactant มาสอง ตัวเพื่อให้คำนวณหา Limiting agent เพื่อคำนวณหา Product ใน Unite ต่าง ๆ (Mass: gram หรือ Volume: cm3 or dm3 at rtp) หรือ แนวหา Percent yield ของ Product
3. Rate of reaction and Kinetics ออกบ่อยคือ หัวข้อ Factor affecting rate reaction
4. Electrochemistry มักถามถึงสามารก Redox หรือการหาตัว reducing or oxidizing รวมถึง Oxidation number
พี่จะขอยกตัวอย่างข้อสอบในเรื่อง Stoichiometry หรือที่น้อง ๆ หลายคนรู้จักในชื่อปริมาณสารสัมพันธ์ โดยนำมาจากข้อสอบปีล่าสุด 2020 ที่ยังคงเป็นแนวซ้ำเดิมอยู่ เช่นข้อนี้ครับ
Diammonium hydrogen phosphate, (NH4)2HPO4, can be used as a fertiliser.The following equation shows how it can be synthesised:
2NH3(g) + H3PO4(aq) → (NH4)2HPO4(s)
What is the mass of diammonium hydrogen phosphate that is produced when 3.40 kg of ammonia is reacted with phosphoric acid (H3PO4), in excess, with a yield of 80%? (Mr values: NH3 = 17.0; H3PO4 = 98.0; (NH4)2HPO4 = 132)
A) 5.28 kg B) 10.6 kg C) 13.2 kg D) 15.8 kg. E) 21.1 kg F) 26.4 kg
วิธีคิดของข้อนี้คือ
- เนื่องจากโจทย์ Balance equation มาแล้วเราสามารถคำนวณหาความสัมพันธ์ของสารได้จาก coefficient number ซึ่งโจทย์ข้อนี้ ให้ ammonia (น้องต้องทราบเองว่าคือ NH3) มา 3.40 kg และถามหา Mass of diammonium hydrogen phosphate((NH4)2HPO4) จาก choice จะเห็นว่าถามในหน่วย kg. (ทั้งนี้โจทย์ให้ relative molecular mass (Mr) มาให้แล้ว) เราจะสร้างความสัมพันธ์จากอัตราส่วน mol ได้ว่า

- แก้สมการเพื่อหาค่า x kg ของ (NH4)2HPO4 จะได้ x = 13.2 kg แต่ช้าก่อนอย่าพึ่งรีบตอบนะครับ ดูคำถามดี ๆ เพราะโจทย์บอกต่ออีกว่า (NH4)2HPO4 ได้ เพียงแค่ 80 % เท่านั้น จากคำว่า (with a yield of 80%) เราจึงนำมาคำนวณต่อ และได้คำตอบคือ (80/100) x 13.2 kg. = 10.6 kg. ตรงกับ choice ข้อ B
Biology
สำหรับวิชา Biology มี 7 ข้อ โดยครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด มากถึง 10 หัวข้อ และจะลงลึกที่ระบบของร่างกายของมนุษย์เป็นหลัก
1. Cell Structure & function
2. Cell Division and Genetics Inheritance
3. Genetic Engineering
4. Digestion
5. Respiration
6. Heart and Circulation
7. Kidneys
8. Homeostasis
9. Nervous System
10. Natural Selection
เนื่องจาก Biology เป็นเนื้อหาที่เยอะและกว้างมาก ๆ มีหลายเรื่องที่น่าสนใจที่ข้อสอบสามารถเอามาออกได้ทั้งหมด แต่หากน้องมีเวลาน้อย พี่อยากให้น้องอ่านเรื่อง Cell Division and Genetic Inheritance เพราะจากสถิติแล้ว ออกมาทุกปีและบางปีออกมากกว่า 1 ข้อ รวมทั้งเรื่อง cellular respiration กับ gene technology ก็อ่านเก็บได้เลย ออกทุกปีเช่นกัน เชื่อพี่ ลักษณะของคำถามอาจจะไม่ได้ถามลึกมาก แต่สิ่งที่พี่อยากให้น้อง ๆ ระวังคือ โจทย์มักเล่นคำ เช่น การเล่นคำว่า คำว่า “always”, “only” เป็นคำที่ควรตรวจสอบให้ดีว่า statement นั่นเป็น absolute จริงหรือไม่ รวมทั้งการถามว่า ข้อใดถูกบ้าง หรือมีข้อถูกทั้งหมดกี่ข้อ ซึ่งถือว่าน้องต้องแม่นในเนื้อหา ไม่สามารถเดาได้เลย และ Choice บางทีมีถึง 7-8 ข้อ
พี่จะขอยกตัวอย่างข้อสอบ BMAT Biology อัปเดต ปี 2020 ในเรื่องที่ออกบ่อยคือ Cell Division and Genetic Inheritance
จะสังเกตได้ว่า ข้อสอบถามว่าข้อใดถูก และอาจจะมีถูกหลายข้อ ซึ่งถ้าน้องลืมเนื้อหาเพียงบางจุดก็อาจจะพลาดคะแนนได้ เรามาเริ่ม Check กันดีกว่าครับ
Choice 1 ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะ โจทย์ใช้คำว่า “always” เพราะแท้จริงแล้ว asexual reproduction produce จะ “less” genetic variation
Choice 2 ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะ โจทย์ใช้คำว่า “only” เพราะแท้จริงแล้ว แม้ว่า meiosis (gamete production) จะผลิต new combination แต่จะไม่ใช่ “only” เท่านั้น ยังมี source, other source include mutation, random mating, and random fertilization ได้อีก
Choice 3 ถูกต้อง เพราะ สิ่งแวดล้อมก็อาจจะทำให้เกิด genetic variation เหมือนกันเช่น climate, diet, accidents, culture, และ lifestyle
Choice 4 ถูกต้อง เพราะการ mutation จะทำให้เกิดความหลายหลายทางพันธุกรรม (variation in genetic) ขึ้นได้
ดังนั้นข้อที่ถูกต้องคือ F
ทั้งนี้ข้อสอบ BMAT ในปี 2002 ถือว่าแนวโจทย์ไม่ต่างจากปีที่ผ่านมามากเท่าไหร่ โดยรวมแล้วยังออกข้อสอบเดิม ๆเหมือนกับวิชาอื่น ๆ แต่จากการวิเคราะห์พบว่า สิ่งที่ยากในปี 2020 คือ การตีโจทย์ไห้เข้าใจ เพราะการใช้ภาษาในข้อสอบเริ่มคลุมเครือ อาจจะทำให้น้องงงได้ และด้วยเวลาที่จำกัดอีกด้วย ทั้งนี้ต้องมีความรอบคอบในการอ่านโจทย์ให้ดี
- Cell division and genetic inheritance 3 ข้อ
- Cellular respiration 1 ข้อ
- Digestive system (Human system) 1 ข้อ
- Ecology and evolution 1 ข้อ
- Gene technology 1 ข้อ
ดูเกณฑ์คะแนนสอบ BMAT ที่นี่