
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้การสอบเทียบ GED หรือการยื่นเทียบวุฒิ GED เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เป็นอีกหนึ่งวิธีในการเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยที่ได้รับความนิยมสูงในประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะทางกระทรวงศึกษาธิการได้ออกหนังสือรับรองว่า GED เป็นวุฒิการศึกษาที่เทียบเท่ากับการจบม.ปลายในระดับปกติ และสามารถใช้ในการยื่นเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยผ่านระบบ TCAS ได้นั่นเอง ซึ่งถ้าน้องคนไหนกำลังหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสอบ GED เพื่อเรียนต่อในไทยและมีคำถามสงสัยในใจว่า “สอบเทียบ GED เข้าคณะอะไรได้บ้าง” หรือ “คะแนน GED ยื่นเรียนมหาวิทยาไหนได้บ้าง” ก็ห้ามพลาดบทความนี้เลย
สอบเทียบ GED ยื่นเรียนต่อที่ไหนได้บ้าง ?
การสอบเทียบ GED ที่เป็นการศึกษาของระบบอเมริกันไม่เพียงแต่นำวุฒิไปใช้ยื่นเข้าเรียนคณะอินเตอร์ได้หลายคณะแล้ว วุฒิ GED ยังสามารถใช้ในการยื่นเรียนต่อหลักสูตรภาษาไทยได้ด้วยเช่นกัน แต่จำนวนคณะที่สามารถเลือกเรียนได้อาจจะน้อยกว่าในหลักสูตรนานาชาติ โดยจำนวนคณะที่เปิดรับวุฒิ GED ทั้งภาคไทยและอินเตอร์ก็มีเยอะมาก พี่กริฟฟินเลยจะขอยกตัวอย่างเฉพาะมหาวิทยาลัยที่ได้รับความนิยมสูงมาเป็นตัวเลือกให้ได้พิจารณากัน ดังนี้
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับใครที่อยากเรียนต่อจุฬาฯ อินเตอร์ก็สามารถใช้การสอบเทียบ GED ยื่นสมัครเข้าเรียนได้ “ทุกหลักสูตร” ไม่ว่าจะเป็น
1.คณะอักษรศาสตร์ ภาคอินเตอร์ สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม หรือ BALAC (Bachelor of Arts in Language and Culture)
2.คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หรือ BBA (Bachelor of Business Administration)
2.1 สาขาวิชาการบัญชี (Accounting)
2.2 สาขาวิชาการบริการธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Management) มีสาขาวิชาย่อยให้เลือกเรียนถึง 3 สาขา ได้แก่
- การจัดการธุรกิจดิจิทัล (Digital Business Management)
- การวิเคราะห์การเงินและการลงทุน (Financial Analysis and Investment)
- การจัดการแบรนด์และการตลาด (Brand and Marketing Management)
3.คณะจิตวิทยา หลักสูตรอินเตอร์ หรือ JIPP (Joint International Psychology Program)
4.คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายธุรกิจและเทคโนโลยี หรือ LLBel (Bachelor of Laws, Experiential Learning in Business and Technology Law)
5.คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา หรือ PGS (Bachelor of Arts Program in Politics and Global Studies)
6.นวัตกรรมบูรณาการ หรือ BAscii (Bachelor of Arts and Science in Integrated Innovation)
7.คณะนิเทศศาสตร์ หรือ BCM (Bachelor of Arts in Communication Management)
8.คณะเศรษฐศาสตร์ หรือ EBA (Bachelor of Arts program in Economics)
9.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
9.1 สาขาการออกแบบสถาปัตยกรรม หรือ INDA (International Program in Design and Architechture)
9.2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ หรือ CommDe (Communication Design)
10.สถาบันวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ หรือ ISE (International School of Engineering) เปิดสอนหลักสูตรวิศวะอินเตอร์ให้เลือกเรียนกันถึง 6 สาขา ดังนี้
10.1 Automotive Design and Manufacturing Engineering (ADME) สาขาวิศวกรรมการออกแบบเครื่องกลการผลิต
10.2 Aerospace Engineering (AERO) สาขาวิศวกรรมการบิน
10.3 Information and Communication Engineering (ICE) สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคมการสื่อสาร
10.4 Nano-Engineering (NANO) สาขาวิศวกรรมนาโน
10.5 Robotics and Artificial Intelligence Engineering (RAIE) สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
10.6 Semiconductor Engineering (SEMI) สาขาวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์
11.คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมีและกระบวนการ หรือ ChPE (Chemical and Process Engineering)
12.คณะวิทยาศาสตร์
12.1 สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ หรือ BBTech (Bachelor of Science in Biotechnology)
12.2 สาขาเคมีประยุกต์ หรือ BSAC (Bachelor of Science in Applied Chemistry) มีสาขาย่อยให้เลือกเรียนกัน 4 สาขา ได้แก่
- สาขาเคมีเพื่อการประยุกต์ด้านอุตสาหกรรมและการจัดการ (Industrial Chemistrt and Management Program)
- สาขาเคมีเพื่อการประยุกต์ด้านวัสดุ (Material Chemistry Program)
- สาขาเคมีสิ่งแวดล้อม (Environment Chemistry Program)
- สาขาเคมีเครื่องสำอางและการเป็นผู้ประกอบการ (Cosmetic Chemistry and Entrepreneurship Program)
12.3 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหการ หรือ BISTECH (Bachelor of Science in Industrial Science and Technology)
ส่วนหลักสูตรภาษาไทยของจุฬาฯ สามารถใช้การสอบเทียบ GED เข้าเรียนได้ใน 12 คณะดังนี้
- คณะอักษรศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะครุศาสตร์
- คณะนิติศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
- คณะรัฐศาสตร์
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
- คณะจิตวิทยา
- คณะศิลปกรรมศาสตร์
- คณะนิเทศศาสตร์
- สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ถัดมาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็มีการรับวุฒิ GED สำหรับการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ให้เลือกถึง 15 คณะ ใน 28 หลักสูตร ดังนี้
1.คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หรือ BBA (Bachelor of Business Administration and Accounting Program)
2.คณะเศรษฐศาสตร์ หรือ BE (Bachelor of Economics Program)
3.คณะนิติศาสตร์ กฎหมายธุรกิจ หรือ LLB (Bachelor of Laws Program in Business Law)
4.คณะสังคมสงเคราะห์ สาขาวิชานโยบายสังคมและการพัฒนา หรือ SPD (Bachelor of Arts Program in Social Policy and Development)
5.คณะศิลปศาสตร์
5.1 สาขาวิชาการสื่อสารเชิงธุรกิจ หรือ BC สามารถเลือกสาขาวิชาย่อยได้ถึง 4 สาขาวิชาย่อย ดังนี้
- สาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษ (Business English Communication)
- สาขาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น (Business Japanese Communication)
- สาขาวิชาเอกภาษาจีน (Business Chinese Communication)
- สาขาวิชาเอกภาษาเกาหลี (Business Korean Communication)
5.2 คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาอังกฤษ-อเมริกันศึกษา หรือ BAS (Bachelor of Arts Program in British and American Studies)
6.คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองและการระหว่างประเทศ หรือ BIR (Bachelor of Political Science in Politics and International Relations)
7.คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาวิชาสื่อศึกษา หรือ BJM (Bachelor of Arts Program in Journalism (Media Studies))
8.วิทยาลัยสหวิทยาการ สาขาวิชาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ หรือ PPPE (Bachelor of Arts Program in Philosophy, Politics and Economics)
9.วิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์ (PBIC)
9.1 สาขาวิชาไทยศึกษา (Bachelor of Arts Program in Thai Studies)
9.2 สาขาวิชาจีนศึกษา (Bachelor of Arts Program in Chinese Studies)
10.วิทยาลัยนวัตกรรม หลักสูตรนวัตกรรมการบริการ หรือ BSI (B.A. (Service Innovation))
11.วิทยาลัยโลกคดีศึกษา สาขาวิชาโลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม หรือ GSSE (Bachelor of Arts Program in Global Studies and Social Entrepreneurship)
12.คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติและสองสถาบัน หรือ TEP-TEPE
13.สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มีการเปิดสอนหลักสูตรวิศวะอินเตอร์ถึง 7 สาขา ได้แก่
13.1 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)
13.2 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)
13.3 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)
13.4 สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)
13.5 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์อัจฉริยะ (Industrial Engineering and Logistics Systems)
13.6 สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและโซ่อุปทาน (Business and Supply Chain Analytics)
13.7 สาขาวิชาวิศวกรรมดิจิทัล (Digital Engineering) และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ Computer Engineering
14.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง สาขาวิชาการจัดการออกแบบธุรกิจและเทคโนโลยี หรือ DBTM (Design,Business and Technology Management)
15.วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ (CICM)
15.1 สาขาวิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก หรือ CVS (Bachelor of Science Program in Cardio-Thoracic Technology)
15.2 การแพทย์แผนจีนบัณฑิต หรือ TCM (Bachelor of Traditional Chinese Medicine Programme)
15.3 ทัศนมาตรบัณฑิต หรือ OD (Doctor of Optometry)
สำหรับการเรียนต่อในหลักสูตรภาษาไทยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็สามารถใช้วุฒิ GED ยื่นเข้าเรียนได้ใน 13 คณะ ดังนี้
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
- คณะศิลปศาสตร์
- คณะศิลปกรรมศาสตร์
- คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์
- คณะนิติศาสตร์
- คณะรัฐศาสตร์
- คณะเศรษฐศาสตร์
- คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
- คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- วิทยาลัยนวัตกรรม
- วิทยาลัยสหวิทยาการ
- วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วยอึ๊งภากรณ์
มหาวิทยาลัยมหิดล
หลายคนน่าจะทราบกันอยู่แล้วว่าทางมหาวิทยาลัยมหิดลมี “วิทยาลัยนานาชาติ” หรือ MUIC (Mahodol University International College) ที่สามารถใช้วุฒิ GED ยื่นเข้าเรียนได้ทุกหลักสูตร แถมยังมีข้อดีตรงที่สามารถยื่นสมัครเรียนกับทางสถาบันได้โดยไม่จำเป็นต้องสมัครผ่านระบบ TCAS อีกด้วย โดยน้อง ๆ สามารถสมัครเรียนมหิดลอินเตอร์กันได้ถึง 17 สาขาวิชา ดังนี้
- สาขาวิชาการตลาด
- สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
- สาขาวิชาการเงิน
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
- สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสร้างสรรค์
- สาขาวิชาฟิสิกส์
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- สาขาวิชาเคมี
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
- สาขาวิชาสื่อและการสื่อสาร
- สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
- สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกิจการทั่วโลก
- สาขาวิชาวัฒนธรรมนานาชาติศึกษาและภาษา
- สาขาวิชาผู้ประกอบการด้านธุรกิจการเดินทางและธุรกิจ
นอกจากนี้ สำหรับใครที่ต้องการสมัครเรียนผ่านระบบ TCAS ทางมหาวิทยาลัยมหิดลก็มีตัวเลือกหลักสูตรนานาชาติที่สามารถใช้การสอบเทียบ GED ในการยื่นสมัครเรียนได้เพียง 5 คณะ ใน 10 หลักสูตร ดังนี้
1.คณะวิทยาศาสตร์
1.1 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (Bachelor of Science Program in Biomedical Science)
1.2 สาขาวิชานวัตกรรมเคมีและเทคโนโลยี (Bachelor of Science Program in Chemical Innovation and Technology)
1.3 สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (Bachelor of Science Program in Bioresources and Environmental Biology)
1.4 สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน (Bachelor of Science Program in Materials Science and Nano Engineering)
1.5 สาขาวิชาชีวนวัตกรรม Bachelor of Science Program in Bioinnovation (International Program, Multidisciplinary Curriculum)
2.คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Bachelor of Science Program in Natural Resources and Environmental Management)
3.คณะวิศวกรรมศาสตร์
3.1 สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (Bachelor of Engineering Program in Chemical Engineering)
3.2 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (Bachelor of Engineering Program in Industrial Engineering)
4.คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน (Bachelor of Arts Program in Chinese)
5.คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Bachelor of Science Program in Information and Communication Technology)
ส่วนหลักสูตรภาษาไทยของมหาวิทยาลัยมหิดล น้อง ๆ จะสามารถใช้การยื่นวุฒิ GED เข้าได้แค่ 2 คณะ 3 หลักสูตรเท่านั้น
1.คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
2.คณะศิลปศาสตร์
2.1 สาขาวิชาภาษาไทย
2.2 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ทางด้านของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็สามารถใช้การสอบเทียบ GED เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติได้ถึง 7 คณะ 18 หลักสูตร ได้แก่
1.คณะเกษตร สาขาวิชาเกษตรเขตร้อน หรือ B.S. (Tropical Science)
2.คณะวิทยาศาสตร์
2.1 สาขาวิชาเคมีบูรณาการ หรือ B.S. (Integrated Chemistry)
2.2 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยี หรือ B.S. (Bioscience and Technology)
2.3 สาขาวิชาวิทยาการและเทคโนโลยีพอลิเมอร์ หรือ B.S. (Polymer Science and Technology)
3.คณะวิศวกรรมศาสตร์
3.1 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล หรือ B.Eng. (Mechanical Engineering)
3.2 สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ หรือ B.Eng. (Software and Knowledge Engineering)
3.3 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า หรือ B.Eng. (Electrical Engineering)
3.4 สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตดิจิทัลและการบูรณาการหุ่นยนต์ หรือ B.Eng. (Digital Manufacturing and Robotics Integration Engineering)
3.5 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา หรือ B.Eng. (Civil Engineering)
3.6 สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือ B.Eng. (Environmental Engineering)
3.7 สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ หรือ B.Eng. (Aerospace Engineering) หลักสูตรสองปริญญา
3.8 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ หรือ B.Eng. (Industrial Engineering)
4.คณะเศรษฐศาสตร์
4.1 สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือ B.Econ.
4.2 สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การประกอบการ หรือ B.A. (Entrepreneurial Economics)
5.คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร หรือ B.S. (Agro-Industrial Innovation and Technology)
6.คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ หรือ B.A. (Integrated Tourism Management)
7.คณะบริหารธุรกิจ
7.1 สาขาบริหารธุรกิจ หรือ B.B.A
7.2 สาขาวิชาการตลาด หรือ B.B.A. (Marketing)
ถ้าใครอยากเรียนต่อหลักสูตรไทยด้วยวุฒิ GED ก็ขอบอกเลยว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นตัวเลือกที่ดีมาก เพราะมีการรับนิสิตถึง 19 คณะเลยทีเดียว
- คณะเกษตร
- คณะประมง
- คณะวนศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะศึกษาศาสตร์
- คณะเศรษฐศาสตร์
- คณะสังคมศาสตร์
- คณะสัตวแพทยศาสตร์
- คณะอุตสาหกรรมเกษตร
- คณะมนุษยศาสตร์
- คณะบริหารธุรกิจ
- คณะเทคนิคการสัตวแพทย์
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- คณะสิ่งแวดล้อม
- คณะแพทยศาสตร์
- คณะพยาบาลศาสตร์
- วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์
- วิทยาลัยการชลประทาน
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ในส่วนของทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หรือที่นิยมเรียกกันว่า “มศว” ก็มีการเปิดรับนักศึกษาด้วยการสอบเทียบ GED หลักสูตรนานาชาติใน 6 คณะ 9 หลักสูตร
1.คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาเพื่ออาชีพ (Bachelor of Arts Program in Languages for Careers)
2.คณะเศรษฐศาสตร์ (Bachelor of Economics)
3.คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก (Bachelor of Business Administration Program in Global Business Management) หลักสูตรสองปริญญา
4.คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการศิลปวัฒนธรรม (Bachelor of Arts Program in Arts and Cultural Management Innovation) หลักสูตรสองภาษา
5.คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมด้านความปลอดภัยไซเบอร์ (Bachelor of Engineering Program in Cyber Security Engineering) หลักสูตรสองปริญญา
6.วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน
6.1 สาขาวิชาการจัดการภาคบริการและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Bachelor of Arts Program in Sustainable Tourism Management)
6.2 สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (Bachelor of Arts Program in Language and Intercultural)
7.วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม (หลักสูตรสองภาษา/ สามภาษา)
8.วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (หลักสูตรสองภาษา/ สามภาษา)
สำหรับหลักสูตรไทยของมศว ก็มีการเปิดรับวุฒิ GED ในการสมัครเรียน 14 คณะ ดังนี้
- คณะมนุษยศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์
- คณะสังคมศาสตร์
- คณะศึกษาศาสตร์
- คณะศิลปกรรมศาสตร์
- คณะทันตแพทยศาสตร์
- คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
- คณะเศรษฐศาสตร์
- คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม
- คณะพลศึกษา
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะกายภาพบำบัด
- คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร
- วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร
เช่นเดียวกับมหิดล เพราะทางมหาวิทยาลัยศิลปากรก็ได้มีการเปิดสถาบันเฉพาะสำหรับการเรียนการสอนในหลักสูตรอินเตอร์หรือ SUIC (Silpakorn University International College) ที่สามารถใช้การสอบเทียบยื่นเรียนต่อได้ทุกหลักสูตรโดยต้องสมัครผ่านระบบ TCAS โดยการเรียนการสอนของศิลปากรอินเตอร์จะเป็นหลักสูตรสองปริญญาที่น้อง ๆ สามารถเรียนจบปริญญาตรีแบบควบ 2 ใบได้ในระยะเวลาการเรียนเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น โดยจะมีการเปิดสอนทั้งหมด 4 หลักสูตร
- สาขาวิชาธุรกิจและเทคโนโลยี (B.B.A. in Business and Technology)
- สาขาวิชาจัดการตราสินค้าหรูหรา (B.B.A. in Luxury Brand Management)
- สาขาวิชาการจัดการโรงแรม (B.B.A. in Hotel Management)\
- สาขาวิชาการออกแบบสื่อสารดิจิทัล (B.F.A. in Digital Communication Design)
หรือถ้าต้องการยื่นคะแนน GED เพื่อเข้าเรียนต่อในหลักสูตรไทยก็สามารถเลือกเรียนได้ถึง 10 คณะ
- คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- คณะมัณฑนศิลป์
- คณะอักษรศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
- คณะวิทยาการจัดการ
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- คณะดุริยางคศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
ทางด้านของพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง ก็มีการเปิดรับวุฒิ GED ในการยื่นสมัครเรียนต่อในหลักสูตรนานาชาติได้ถึง 7 คณะ ใน 23 หลักสูตร ดังนี้
1.คณะวิศวกรรมศาสตร์
1.1 สาขาวิศวกรรมการเงิน (B.Eng. Financial Engineering) หลักสูตรสองปริญญา
1.2 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (B.Eng. Computer Engineering)
1.3 สาขาวิศวกรรมเครื่องกล (B.Eng. Mechanical Engineering)
1.4 สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (B.Eng. Biomedical Engineering)
1.5 สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (B.Eng. Software Engineering)
1.6 สาขาวิศวกรรมพลังงาน (B.Eng. Energy Engineering)
1.7 สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า (B.Eng. Electrical Engineering)
1.8 สาขาวิศวกรรมโยธา (B.Eng. Civil Engineering)
1.9 สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (B.Eng. Robotics and AI Engineering)
1.10 สาขาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการโลจิสติกส์ (B.Eng. Industrial Engineering and logistics Management)
2.คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
2.1 สาขาวิศวกรรมโยธา-สถาปัตยกรรม (B.Sc. Architecture) หลักสูตรสองปริญญา
2.2 สาขาปัญญาออกแบบเพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (B.Des. Design Intelligence for Creative Economy)
2.3 สาขาศิลปะสร้างสรรค์และภัณฑารักษ์ศึกษา (B.F.A Creative Arts and Curatorial Studies)
3.คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเชิงบูรณาการ (B.Sc. Digital Technology and Integrated Innovation)
4.คณะบริหารธุรกิจ
4.1 สาขาบริหารธุรกิจบัณฑิต แขนง INNOVATION & TECHNOLOGICAL MARKETING (B.B.A. Business Administration)
4.2 สาขาบริหารธุรกิจบัณฑิต แขนง GLOBAL BUSINESS & FINANCIAL MANAGEMENT (B.B.A. Business Administration)
4.3 สาขาบริหารธุรกิจบัณฑิต แขนง DIGITAL SUPPLY CHAIN MANAGEMENT (B.B.A. Business Administration)
4.4 สาขาการเป็นผู้ประกอบการระดับโลก (B.B.A. Global Entrepreneurship)
5.วิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ สาขาเทคโนโลยีวัสดุชาญฉลาด-วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (B.Eng. Smart Materials Technology and Robotics and AI) หลักสูตรสองปริญญา
6.วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ
6.1 สาขาวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ (B.Eng. Aeronautical Engineering and Commercial Pilot)
6.2 สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ (B.Eng. Aerospace Engineering)
6.3 สาขาการจัดการโลจิสติกส์ (B.Sc. Logistics Management)
7.คณะทันตแพทยศาสตร์ (Doctor of Dental Surgery)
ส่วนหลักสูตรไทยจะสามารถใช้การสอบเทียบยื่นสมัครเรียนได้ 6 คณะ ดังนี้
- คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
- คณะเทคโนโลยีการเกษตร
- คณะวิทยาศาสตร์
- คณะศิลปศาสตร์
- วิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ
- วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางมด
ในส่วนของพระจอมเกล้าฯ บางมด สามารถใช้การสอบเทียบยื่นเข้าเรียนหลักสูตรนานาชาติได้ใน 3 คณะ 9 หลักสูตร ได้แก่
1.คณะวิศวกรรมศาสตร์
1.1 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Bachelor of Engineering Program in Computer Engineering)
1.2 สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (Bachelor of Engineering Program in Chemical Engineering)
1.3 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (Bachelor of Engineering Program in Civil Engineering)
1.4 สาขาวิชาวิศวกรรมอัตโนมัติ (Bachelor of Engineering Program in Automation Engineering)
1.5 สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Bachelor of Engineering Program in Environmental Engineering)
1.6 สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศสื่อสาร (Bachelor of Engineering Program in Electronic and Infocommunication Engineering)
2.คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Bachelor of Science Program in Computer Science)
3.วิทยาลัยสหวิทยาการ สาขาวิชาการออกแบบดิจิทัล (Bachelor of Science Program in Digital Design)
3.1 สาขาวิชาเอกแอนิเมชั่นและวิชวลเอฟเฟกต์
3.2 สาขาวิชาเอกการออกแบบและการสร้างเกม
แต่ถ้าใครสนใจเรียนต่อหลักสูตรไทยของพระจอมเกล้าฯ บางมด จะใช้วุฒิ GED ยื่นสมัครได้แค่ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Bachelor of Engineering Program in Robotics and Automation Engineering) เท่านั้น
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จะมีการเปิดรับวุฒิ GED ผ่านระบบ TCAS เฉพาะในหลักสูตรนานาชาติของบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน จำนวน 2 สาขาเท่านั้น
- สาขาวิศวกรรมการออกแบบไมโครอิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ (Bachelor of Engineering Program in Microelectronics Design and Semiconductor Engineering)
- สาขาวิศวกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและระบบอัตโนมัติ (Bachelor of Engineering Program in Electric Vehicle and Automation System Engineering)
มหาวิทยาลัยอื่น ๆ
นอกจากมหาวิทยาลัยที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังสามารถใช้การสอบเทียบยื่นเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยอื่นได้ ทั้งมหาวิทยาลัยรัฐบาลและเอกชนอีกเป็นจำนวนมาก โดยมีตัวเลือกหลักสูตรการเรียนทั้งภาคไทยและอินเตอร์ นอกจากนี้ วุฒิ GED ยังสามารถนำเอาไปยื่นเรียนต่อต่างประเทศได้อีกด้วย จึงวางใจได้เลยว่าแม้น้อง ๆ จะไม่ได้ใช้วุฒิม.ปลายยื่นสมัครเรียนก็สามารถเรียนต่อปริญญาตรีได้แน่นอน
ตรวจสอบข้อมูลหลักสูตรที่รับวุฒิ GED เพิ่มเติม คลิก
ข้อควรรู้ก่อนสมัครเรียน
สิ่งสำคัญก่อนดำเนินการสมัครเรียนต่อปริญญาด้วยการสอบเทียบ คือ น้อง ๆ จะต้องทำการยื่นเทียบวุฒิ GED ในระบบก่อน จึงจะสามารถนำเอาผลสอบ GED ไปใช้งานในระบบ TCAS และระบบรับตรงของมหาวิทยาลัยที่ต้องการได้ นอกจากนี้ พี่กริฟฟินก็ขอแนะนำให้ตรวจสอบเกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อของทางคณะและมหาวิทยาลัยอย่างละเอียดก่อนดำเนินการสมัครเรียนทุกครั้ง เพราะถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะมีการกำหนดคะแนนขั้นต่ำของการสอบเอาไว้ที่ 145 คะแนน แต่บางหลักสูตรอาจมีการกำหนดคะแนนขั้นต่ำมากกว่านั้น อีกทั้งหลายหลักสูตรยังระบุให้ยื่นคะแนนผลทดสอบภาษาอังกฤษควบคู่ไปกับการสมัครเรียน และอาจต้องใช้คะแนนความถนัดอื่นอย่าง SAT, ACT, A-Level, TPAT หรือคะแนนอื่น ๆ ร่วมด้วย