หลังจากที่ทางทปอ. ได้ประกาศปฏิทิน TCAS ออกมาในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา น้อง ๆ ม.6 หลายคนน่าจะเริ่มวางแผนเตรียมตัวเข้ามหาลัยกันแล้ว ซึ่งเราเชื่อว่า “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ต้องเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัย Top Choice ในฝันของหลาย ๆ คนอย่างแน่นอน วันนี้พี่กริฟฟินขอพามาแนะนำข้อมูลของ 4 คณะอินเตอร์ มธ. สุดฮิต พร้อมเปิดข้อมูลกำหนดการณ์รับนักศึกษาในรอบ Inter Portfolio และ Requirements คะแนนวิชาต่าง ๆ (อ้างอิงข้อมูลจากปี 2567) เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมให้กับน้อง ๆ ทีมธรรมศาสตร์ทุกคนในการวางแผนติวเข้าคณะอินเตอร์ในรอบ Inter Portfolio กัน
ประกาศปฏิทิน TCAS ของทางทปอ. คลิก
แนะนำ 4 คณะอินเตอร์ มธ. เตรียมพร้อมยื่นคะแนนรอบ Inter Portfolio
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรอินเตอร์ (BBA)
ทาง TBS หรือ Thammasat Business School เป็นที่แรกในไทยที่เปิดสอนหลักสูตร BBA (Bachelor of Business Administration) หรือคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ภาคอินเตอร์ จึงทำให้ BBA ของมธ. มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนานและมีศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จมากมาย ด้วยหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีมุมมองแบบ Global Perspectives ที่สามารถปรับการทำงานให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างราบรื่นทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยในตอนนี้จะมีทั้งหมด 3 สาขาวิชา ได้แก่
- สาขาวิชาการบัญชี (Accounting)
- สาขาวิชาการเงิน (Finance)
- สาขาวิชาการตลาด (Marketing)
โดยในรอบ Inter Portfolio ก็ได้มีการเปิดรับนักศึกษาหลักสูตร BBA ในช่วงวันที่ 15 – 25 ธันวาคม (อ้างอิงจากข้อมูลปี 2567) โดยกำหนดเกณฑ์การรับเข้าศึกษา ดังนี้
คณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ (Liberal Arts)
น้องคนไหนสนใจเรียนต่อสายภาษา คณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีโปรแกรมหลักสูตรพิเศษ SIP (Special and International Programs) ที่น่าจับตามอง เพราะนอกจากจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักภาษา, วัฒนธรรม, วรรณกรรม, ประวัติศาสตร์ต่าง ๆ แล้ว ยังมีการสอดแทรกความรู้ด้านการแปลภาษาและการสื่อสารทางธุรกิจโดยนำเทคโนโลยีและ AI เข้ามาผสมผสานภายในหลักสูตรให้นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันมีการเปิดสอนทั้งหมด 2 หลักสูตร ได้แก่
- อังกฤษและอเมริกันศึกษา (British & American Studies – BAS)
- การสื่อสารเชิงธุรกิจ (Business Communication – BC) ที่มีสาขาวิชาย่อยให้เลือกเรียนตามภาษาที่สนใจทั้ง อังกฤษ, ญี่ปุ่น, จีน และเกาหลี
ซึ่งในรอบ Inter Portfolio ได้มีการแจ้งกำหนดเปิดรับสมัครเอาไว้ในช่วงวันที่ 16 ตุลาคม – 16 พฤศจิกายน (อ้างอิงจากข้อมูลปี 2567) โดยมีเกณฑ์การรับเข้าศึกษา ดังนี้
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน หลักสูตรอินเตอร์ (BJM)
ถ้าพูดถึงชื่อของ BJM หรือ Bachelor of Arts Program in Journalism (Media Studies) ที่สังกัดอยู่ในคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน หลักสูตรอินเตอร์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น้อง ๆ หลายคนอาจจะเข้าใจว่าเป็นคณะสำหรับคนที่อยากเป็นผู้ประกาศข่าวหน้ากล้อง แต่ความจริงแล้วหลักสูตรนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทั้งการทำงานเบื้องหน้าเบื้องหลังของงานด้านการสื่อสารมวลชนในเชิงลึกทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้งสอดแทรกการเรียนในด้านการโฆษณา การประชาสัมพันธ์และการตลาดเข้าไปอีกด้วย ซึ่งในรอบ Inter Portfolio ของ BJM จะมีการเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน – 29 ธันวาคม (อ้างอิงข้อมูลปี 2567) และกำหนดเกณฑ์การรับนักศึกษา ดังนี้
คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ (SIIT & TEP)
ในส่วนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ของทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะแบ่งออกเป็น 2 โครงการ ได้แก่ SIIT และ TEP-TEPE ซึ่งในรอบ Inter Portfolio มีการกำหนดวันรับสมัครและเกณฑ์การรับเข้าศึกษาแตกต่างกันออกไป ดังนี้
SIIT (Sirindhorn International Institute of Technology) หรือสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจากสหพันธ์เศรษฐกิจแห่งประเทศญี่ปุ่น (KEIDANREN) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เป็นหลักสูตรอินเตอร์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่อยู่คู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาอย่างยาวนาน เปิดสอนทั้งหมด 8 หลักสูตร
- หลักสูตรวิศวกรรมโยธา Civil Engineering (CE)
- หลักสูตรวิศวกรรมเคมี Chemical Engineering (ChE)
- หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า Electrical Engineering (EE)
- หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์อัจฉริยะ Industrial Engineering and Logistics Systems (IE)
- หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกล Mechanical Engineering (ME)
- หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และดิจิทัล Computer Engineering (CPE)
- หลักสูตรวิศวกรรมดิจิทัล Digital Engineering (DE)
- หลักสูตรการวิเคราะห์ธุรกิจและอุปทาน Business and Supply Chain Analytics (BA)
ทั้งนี้ ทาง SIIT ได้เปิดรับนักศึกษาในรอบ Inter Portfolio ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน – 22 ธันวาคม โดยมีเกณฑ์การรับเข้าถึง 2 รูปแบบให้น้อง ๆ ได้เลือกสมัครตามความสะดวก (อ้างอิงจากปี 2567)
TEP-TEPE
ในส่วนของ TEP (Twinning Engineering Programme) จะเป็นโครงการหลักสูตรวิศวกรรมแบบสองสถาบันที่ผู้เรียนจะได้เรียนที่มธ. เป็นเวลา 2 ปี และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในเครืออีก 2 ปี ส่วน TEPE (Thammasat English Programme of Engineering) จะเป็นหลักสูตรวิศวกรรมแบบนานาชาติ เปิดสอนทั้งหมด 4 หลักสูตร ดังนี้
- หลักสูตรวิศวกรรมเคมี Chemical Engineering (ChE)
- หลักสูตรวิศวกรรมโยธา Civil Engineering (CE)
- หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า Electrical Engineering (EE)
- หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกล Mechanical Engineering (ME)
โดยหลักสูตรสองสถาบัน (TEP) สามารถเลือกเรียนตามสาขาย่อยด้านบนทั้ง 4 สาขาได้ ซึ่งทาง TEP-TEPE ก็ได้กำหนดช่วงระยะเวลาการเปิดรับนักศึกษารอบ Inter Portfolio เอาไว้ตั้งแต่วันที่ 16 – 31 ตุลาคม โดยมีเกณฑ์การรับเข้าถึง 3 รูปแบบ (อ้างอิงจากปี 2567) ดังนี้
ติวเข้าคณะอินเตอร์ มธ. รอบ Inter Portfolio กับ House of Griffin
สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเข้าศึกษาต่อที่ธรรมศาสตร์และกำลังวางแผนติวเพื่อเตรียมตัวสอบและใช้คะแนนในการยื่นสมัครรอบ Inter Portfolio สามารถเลือกติวคอร์ส IELTS, TOEFL, SAT, ACT, TU-GET, CU-AAT และ CU-ATS ที่ House of Griffin ได้เลย เรามีครูผู้สอนที่มีประสบการณ์กว่า 14 ปีพร้อมทีมวิชาการช่วยวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนให้น้อง ๆ สามารถคว้าคะแนนสอบตามเป้าหมายและยื่นเข้าคณะในฝันได้แบบผ่านฉลุย