Skip to content

เตรียมตัวติวเข้า 4 คณะอินเตอร์จุฬาฯ ยอดฮิต

เตรียมตัวติวเข้า 4 คณะอินเตอร์จุฬาฯ

ช่วงปลายปีแบบนี้ มหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่งก็เริ่มออกประกาศกำหนดการณ์รับนักศึกษาใหม่กันมาบ้างแล้ว และหนึ่งในมหาวิทยาลัยในฝันของน้อง ๆ หลายคนอย่าง “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เองก็ได้ออกประกาศปฏิทิน TCAS 68 ฝั่งคณะอินเตอร์ในรอบ Portfolio (Early Admission) มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว วันนี้พี่กริฟฟินจะมาแนะนำ 4 คณะอินเตอร์จุฬาฯ ยอดฮิต พร้อมเปิด Requirements และเกณฑ์คะแนนการรับเข้าศึกษา (อ้างอิงจากข้อมูลปี 2567) รวมทั้งแนะนำวิธีติวเข้าจุฬา เพื่อให้น้อง ๆ เตรียมพร้อมเป็น #Dek68 ในรั้วจามจุรีฝั่งอินเตอร์กันได้อย่างที่ตั้งใจ

ประกาศปฏิทิน TCAS 68 คณะอินเตอร์จุฬา คลิก

แนะนำ 4 คณะอินเตอร์จุฬาฯ ยอดฮิต เตรียมพร้อมยื่นคะแนนรอบ Early Admission

น้อง ๆ หลายคนสับสนกับรอบการเปิดรับสมัครของคณะอินเตอร์จุฬาฯ พี่กริฟฟินขออธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้ โดยทางจุฬาฯ จะเปิดรับสมัครรอบ Portfolio เฉพาะการเรียนภาคปกติ (หลักสูตรไทย) เท่านั้น ในส่วนคณะอินเตอร์ทางจุฬาฯ จะมีการเปิดรับสมัครในรอบ Early Admission ที่มีระยะเวลาการเปิดรับสมัครที่ยาวกว่าแทน โดยขั้นตอนการสมัครสอบก็จะต้องทำการลงทะเบียนในระบบ TCAS เหมือนกับการสมัครในรอบ Portfolio ตามปกติ แต่กำหนดการจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย เพราะรอบ Portfolio ทั่วไปรับสมัครในช่วงวันที่ 5 – 18 พฤศจิกายน 2567 ในขณะที่รอบ Early Admission เปิดให้สมัครได้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายนไปจนถึง 25 ธันวาคม 2567 ซึ่งทั้ง 4 คณะที่จะมาแนะนำในวันนี้ก็มีการเปิดรับในรอบ Early Admission ด้วยเช่นกัน รายละเอียดจะเป็นยังไงบ้าง ไปดูกันเลย

 

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรอินเตอร์ (BBA)

สำหรับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรอินเตอร์ หรือที่นิยมเรียกกันในชื่อ BBA (Bachelor of Business Administration) เป็นหนึ่งในหลักสูตรที่มีอัตราการสมัครสอบเข้าเป็นอันดับต้น ๆ ในสายธุรกิจอินเตอร์ เนื่องจากชื่อเสียงของคณะที่เปิดการเรียนการสอนมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสถาบันที่ได้รับการยอมรับจาก EQUIS และ AACSB (the Association to Advance Collegiate Schools of Business) อีกด้วย

โดยหลักสูตร BBA อินเตอร์จุฬาฯ จะแบ่งออกเป็น 2 สาขาวิชา ได้แก่

  1. สาขาวิชาการบัญชี (Accounting)
  2. สาขาวิชาการบริการธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Management) ที่มีสาขาวิชาย่อยให้เลือกเรียน ดังนี้ 
  • การจัดการธุรกิจดิจิทัล (Digital Business Management)
  • การวิเคราะห์การเงินและการลงทุน (Financial Analysis and Investment) 
  • การจัดการแบรนด์และการตลาด (Brand and Marketing Management) 

ซึ่งในรอบ Early Admission ของคณะอินเตอร์จุฬาฯ หลักสูตร BBA ก็ได้มีการเปิดรับสมัครถึง 2 โครงการด้วยกัน คือ โครงการรับเข้าศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจทั่วไป และโครงการ BBA-Next Gen Admission (โควต้าพิเศษ) โดยผู้ที่สนใจสมัครในรอบ Early Admission จะสามารถเลือกลงได้เพียงแค่ 1 โครงการเท่านั้น

คณะอินเตอร์จุฬาฯ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

ทั้งนี้ คะแนนสอบที่ยื่นสมัครจะต้องเป็นผลสอบของรอบสอบเดียวกันเท่านั้น ไม่สามารถยื่นคะแนนแบบคละรอบสอบได้

คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์

ในส่วนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์จุฬา ก็เป็นคณะที่ได้รับความนิยมสูงไม่แพ้ วิศวะอินเตอร์ 3 พระจอม เลยทีเดียว โดยหลักสูตรวิศวกรรมอินเตอร์จุฬา จะแบ่งออกเป็น 2 หลักสูตรหลัก ๆ คือ หลักสูตรวิศวะอินเตอร์ของ ISE (International School of Engineering) และหลักสูตรวิศวะอินเตอร์ของคณะวิศวกรรมเคมี แบ่งออกเป็น 5+1 สาขา มีรายละเอียดดังนี้

ISE (International School of Engineering) คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ เปิดสอนหลักสูตรวิศวะอินเตอร์ให้ได้เลือกเรียนกันถึง 5 สาขา ดังนี้

  1. Automotive Design and Manufacturing Engineering (ADME) สาขาวิศวกรรมการออกแบบเครื่องกลการผลิต
  2. Aerospace Engineering (AERO) สาขาวิศวกรรมการบิน
  3. Information and Communication Engineering (ICE) สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคมการสื่อสาร
  4. Nano-Engineering (NANO)  สาขาวิศวกรรมนาโน
  5. Robotics and Artificial Intelligence Engineering (RAIE) สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์

ChPE (Chemical and Process Engineering) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมีการผลิต (นานาชาติ) เป็นสาขาน้องใหม่ที่อยู่ในการดูแลของทางคณะวิศวกรรมเคมีโดยตรง (ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ ISE) ซึ่งทั้ง 6 สาขาที่กล่าวมาข้างต้นก็ได้มีการเปิดรับนิสิตในรอบ Early Admission ด้วยเช่นกัน สำหรับ ISE ทั้ง 5 สาขา จะเปิดรับสมัครนิสิตทั้งหมด 2 รูปแบบ ได้แก่ การยื่นคะแนนสอบ และการยื่น Portfolio ส่วน ChPE จะเปิดรับเฉพาะการยื่นคะแนนสอบเท่านั้น (เลือกสมัครได้เพียงแค่รูปแบบเดียว)

เกณฑ์เข้าคณะอินเตอร์จุฬา คณะวิศวกรรมศาสตร์

 

 

คณะนิเทศศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ (CommArts)

ถัดมาเป็นคณะของชาวนิเทศจุฬาฯ อินเตอร์ฯ อย่าง CommArts (Communication Arts) หรือคณะนิเทศศาสตร์ ภาคอินเตอร์ สาขาการจัดการการสื่อสาร (Communication Management) ที่เน้นการเรียนการสอนในด้านความสร้างสรรค์ ออกแบบ และจัดการสื่อต่าง ๆ ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์แบบครบวงจร เพื่อให้ผู้เรียนสามารถก้าวทันยุคเทคโนโลยีที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยในรอบ Early Admission ของ CommArts น้อง ๆ ที่สนใจสมัครเข้าเรียนทุกคนจะต้องยื่น E-Portfolio ควบคู่ไปกับคะแนนผลสอบวัดระดับด้วย

เกณฑ์เข้าคณะอินเตอร์จุฬา คณะนิเทศศาสตร์

ทั้งนี้ คะแนนสอบที่ยื่นสมัครจะต้องเป็นผลสอบของรอบสอบเดียวกันเท่านั้น ไม่สามารถยื่นคะแนนแบบคละรอบสอบได้

 

อักษรศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ (BALAC)

อีกหนึ่งคณะที่ไม่ควรมองข้ามของคณะอินเตอร์จุฬาฯ ก็คือ BALAC (Bachelor of Arts in Language and Culture) หรือคณะอักษรศาสตร์ ภาคอินเตอร์ สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม โดยน้อง ๆ สามารถเลือกเรียนแบบเชิงลึกในสายที่สนใจได้ทั้งภาษาศาสตร์, สังคมศาสตร์, มนุษย์ศาสตร์, วัฒนธรรม รวมทั้งภาษาที่ 3 ตามความต้องการของแต่ละคนได้ จึงเป็นหนึ่งในคณะที่น่าจับตามองแบบสุด ๆ ซึ่งทาง BALAC ก็เปิดรับนิสิตในรอบ Early Admission ด้วยเช่นกัน

เกณฑ์เข้าคณะอินเตอร์จุฬา คณะอักษรศาสตร์

 

ติวเข้าจุฬาฯ กับ House of Griffin ยื่นคะแนนรอบ Early Admission คณะอินเตอร์จุฬาฯ อย่างมั่นใจ

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลาย ๆ คนน่าจะสังเกตเห็นว่าในรอบ Early Admission ของคณะอินเตอร์จุฬาฯ นั้นมีการเรียกขอผลคะแนนภาษาอังกฤษและความถนัดต่าง ๆ สำหรับใครยังไม่มีคะแนนในส่วนนี้ หรือมองหาคอร์สติวเข้าจุฬาฯ ขอแนะนำคอร์สเรียนของ House of Griffin เพราะสถาบันของเรามีคอร์สติวเตรียมพร้อมให้น้อง ๆ แบบครบถ้วนตามความต้องการ ทั้งคอร์ส IELTS, TOEFL, Duolingo, SAT, ACT, CU-TEP, CU-AAT และ CU-ATS เรียกได้ว่ามาลงติวที่นี่ ได้ทั้งเทคนิคและความรู้ในการสอบแต่ละแบบที่จะต้องใช้ในการสมัครอย่างครบถ้วน ช่วยให้น้อง ๆ สามารถยื่นสมัครเข้าเรียนได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

Share this article