Skip to content

คู่มือเตรียมพร้อมสอบ GED อย่างมั่นใจ ฉบับสมบูรณ์

คู่มือสอบ GED ฉบับสมบูรณ์

น้อง ๆ คนไหนที่มองหาทางลัดเข้ามหาวิทยาลัยในฝันผ่านการสอบเทียบเท่าม. 6 ด้วยวุฒิ GED ห้ามพลาดบทความนี้เลย เพราะพี่กริฟฟินจะมาแจกคู่มือเตรียมสอบ GED ฉบับมือใหม่ให้สอบผ่านฉลุยได้ในการสอบแค่รอบเดียว จะเป็นยังไงไปดูกันเลย

สอบ GED ดียังไง ?

การสอบ GED หรือ General Educational Development เป็นการสอบเทียบวุฒิม.ปลายในระบบอเมริกัน ที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยอย่างเป็นทางการแล้วว่าสามารถใช้ยื่นแทนวุฒิ ม.6 เพื่อเข้าศึกษาปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทยได้ทั้งมหาวิทยาลัยรัฐบาลและเอกชน นอกจากนี้ยังสามารถนำวุฒิ GED ไปยื่นเรียนต่อในมหาวิทยาลัยบางแห่งที่ต่างประเทศได้อีกด้วย จึงทำให้การสอบ GED ได้รับความนิยมในหมู่เด็กรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นน้อง ๆ ที่เรียน Home School, น้องที่ไม่ได้เรียนในระบบเนื่องจากต้องการเวลาในการค้นหาตัวเองหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ นอกห้องเรียน เช่น เน็ตไอดอล, ดารา, นักร้อง, นักกีฬา และบุคคลทั่วไปที่ต้องการวุฒิเทียบเท่า ม.6 ไปใช้ในการทำงานหรือเรียนต่อในอนาคต (สำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่า GED คืออะไร ? สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่)

สอบ GED ยากไหม ?

ข้อสอบ GED ถือว่าเป็นข้อสอบเทียบวุฒิระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ดังนั้นข้อสอบจึงเป็นการวัดระดับความรู้ในระดับไม่เกินม.ปลายใน 4 รายวิชา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ โดยความท้าทายของข้อสอบ GED สำหรับนักเรียนไทยน่าจะเป็นในส่วนของข้อสอบ “สังคม” เนื่องจากข้อสอบ GED จะใช้ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ของ “สหรัฐอเมริกา” ต่างจากข้อสอบในรายวิชาอื่น ๆ ที่เป็นการสอบวัดความรู้ในภาพรวมที่คุ้นเคยกันอยู่แล้ว แต่ถ้าหากเตรียมตัวสอบมาดี อ่านแนวข้อสอบอย่างละเอียดและทดลองทำข้อสอบเก่า ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสอบก็ขอบอกเลยว่าการสอบ GED “ไม่ยากอย่างที่คิด” แน่นอน

แจก Checklist สมัครสอบ GED พร้อมยื่นคะแนนเข้าคณะในฝัน

  1. ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครสอบการสอบ GED เปิดให้ทุกคนที่อายุมากกว่า 16 ปีขึ้นไปสามารถลงสมัครสอบได้โดยไม่จำกัดเพดานอายุสูงสุด แต่สำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องมีเอกสารยินยอมจากผู้ปกครองจึงจะสามารถลงสอบในสนามจริงได้ ดังนั้นน้อง ๆ ที่อายุ 16 – 17 ปีที่ต้องการสมัครสอบ GED จะต้องปรินท์เอกสารยินยอมให้ผู้ปกครองเซ็นและสแกนเอกสารแนบในระบบก่อน

  2. ทำความรู้จักกับข้อสอบเพื่อวางแผนการเรียน GED ก่อนสมัครสอบ

    การสอบ GED นั้นมีรอบสอบทุกวันจันทร์ – เสาร์ ตั้งแต่เวลา 9:00 – 16:00 น. และสามารถลงสอบแบบ “แยกรายวิชา” ได้ ทำให้สามารถติวสอบ GED แบบเจาะลึกทีละรายวิชาได้ โดยนำเอาข้อสอบ GED ชุดเก่า ๆ มาลองทำเพื่อประเมินทักษะความรู้เดิมของเราก่อนวางแผนติว GED ให้เหมาะสมกับตัวเอง ตาม 4 รายวิชา ดังนี้

    – ภาษาอังกฤษ (Reasoning Through Language Arts) ข้อสอบวัดทักษะพื้นฐานทางการใช้งานภาษาอังกฤษด้านการใช้เหตุผล การอ่านจับใจความ และแกรมมาร์ขั้นพื้นฐาน

    – คณิตศาสตร์ (Mathematical Reasoning) ข้อสอบวัดทักษะพื้นฐานด้านการคิดคำนวณ ทั้งคณิตศาสตร์พื้นฐาน, เลขาคณิต, พีชคณิต กราฟและฟังก์ชัน โดยจะมีทั้งส่วนที่อนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลขในการคิดคำตอบและส่วนที่ไม่อนุญาตให้ใช้งานเครื่องคิดเลข

    – วิทยาศาสตร์ (Science) ข้อสอบวัดความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์, เคมี, ชีววิทยา, ฟิสิกส์ รวมไปถึงการตั้งสมมติฐานการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้านต่าง ๆ

    – สังคมศึกษา (Social Studies) ข้อสอบวัดความรู้ด้านสังคมศาสตร์, การเมือง, การปกครอง, ประวัติศาสตร์ รวมไปถึงภูมิศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ของประเทศ “สหรัฐอเมริกา”

  3. สร้าง GED ID และลงสอบ GED Ready ให้ครบทุกรายวิชาก่อนที่จะสมัครสอบ GED ในสนามจริงได้นั้น น้อง ๆ จะต้องสร้าง GED ID และทำการสอบ GED Ready ให้ผ่านครบทุกรายวิชาก่อน (สอบให้ได้คะแนนสูงกว่า 145 คะแนนขึ้นไป) โดยข้อสอบ GED Ready จะมีความคล้ายคลึงกับข้อสอบ GED ฉบับจริง แต่มีจำนวนข้อคำถามและเวลาการทำสอบที่น้อยกว่า ซึ่งการสอบ GED Ready นอกจากจะช่วยให้ได้ฝึกลองทำข้อสอบ GED แบบจับเวลาตามจริงแล้ว หลังการสอบยังมีการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนในรายวิชาต่าง ๆ ที่ควรอ่านและลงติวเพิ่มเติมเพื่อให้ได้คะแนน GED สูงอีกด้วย ทั้งนี้ น้อง ๆ สามารถอ่านวิธีการสมัครสอบ GED Ready ได้ ที่นี่ 

  4. ลงสอบ GED ในสนามจริงและสอบให้ผ่าน
    เมื่อน้อง ๆ ลงสอบ GED Ready ผ่านทุกรายวิชาเป็นที่เรียบร้อยก็จะสามารถ สมัครสอบ GED ในสนามจริงได้ โดยการสอบ GED ฉบับจริงจะต้องเดินทางไปสอบที่สนามสอบเท่านั้น โดยสามารถเลือกสนามสอบใกล้บ้านที่สะดวกเดินทางไปสอบได้ถึง 12 แห่งทั่วประเทศไทย ดังนี้

    แจกพิกัด 12 ศูนย์สอบ GED ทั่วไทย


    โดยในวันสอบน้อง ๆ จะต้องเตรียมบัตรประชาชนหรือพาสปอร์ตที่มีตัวสะกดตรงกับข้อมูลที่กรอกเอาไว้ในแอคเคาท์ GED ID (หากตัวสะกดไม่ตรงกันจะไม่อนุญาตให้เข้าสอบ) และไม่อนุญาตให้นำเอาเครื่องคิดเลขหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เข้าห้องสอบ ทั้งนี้ สำหรับการสอบคณิตศาสตร์ในข้อที่สามารถใช้เครื่องคิดเลขในการคำนวณได้ จะสามารถใช้งานเครื่องคิดเลขในระบบการสอบได้

    นอกจากนี้ ในกรณีที่ลงสอบ GED แล้วไม่ผ่าน (ได้คะแนนต่ำกว่า 145 คะแนน) จะสามารถลงสอบ GED ซ้ำได้แบบไม่จำกัดจำนวนครั้งจนกว่าจะผ่าน แต่จะสามารถลงสอบติดกันได้สูงสุด 3 ครั้ง หากลงสอบครบ 3 ครั้งติดกันและต้องการสอบรอบใหม่ จะต้องเว้นระยะเวลาการลงสมัครสอบไปอีก 60 วัน แต่หากสอบผ่าน (ได้คะแนนสูงกว่า 145 คะแนน) แล้วอยากลงสอบใหม่ให้คะแนนเพิ่มขึ้น จะต้องทำเรื่องขอ Rescore ใหม่ได้แค่รายวิชาละ 1 ครั้งเท่านั้น

  5. รอผลสอบ GED และนำเอาคะแนน GED ไปเทียบวุฒิม. 6

โดยปกติแล้วผลสอบ GED จะออกภายใน 2 สัปดาห์ โดยผู้สอบสามารถเช็กผลสอบพร้อม E-Transcript และ E-Diploma ได้ในอีเมลที่สมัคร GED ID แต่หากต้องการ Paper Diploma และ Transcript จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มใบละ $15 USD และค่าบริการจัดส่งโดย FedEx ครั้งละ $40 USD (ใช้เวลาการจัดส่งประมาณ 5 วัน)

เมื่อได้ผลสอบเป็นที่เรียบร้อยจะต้องทำการ แปลงคะแนน GED เทียบ GPAX และขอใบวุฒิสอบเทียบเท่าม. 6 หรือใบ GPAX Equivalence Certificate ก่อนนำเอาวุฒิ GED ไปทำการสมัครเรียนภายในระบบ TCAS ทั้งนี้ พี่กริฟฟินแนะนำให้ตรวจสอบเกณฑ์การรับสมัครเข้าเรียนของทางคณะก่อนดำเนินการสมัครเรียน เนื่องจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งจะมีการขอคะแนนผลทดสอบภาษาอังกฤษ หรือคะแนนความถนัดประเภทอื่น ๆ เช่น คะแนน SAT, ACT หรือคะแนนเฉพาะของแต่ละคณะควบคู่กันไปด้วย

เตรียมความพร้อมก่อนสอบ GED ไปกับ House of Griffin อุ่นใจกว่า

สามารถสมัครสอบ SAT ออนไลน์ได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ College Board ถัดมาให้กดเข้าสู่ระบบหรือสร้างบัญชีใหม่ เลือกวัน-เวลาและสนามสอบที่ต้องการ ตามด้วย Upload รูปของตนเองเพื่อติดบัตรสอบและดำเนินการชำระเงินให้เรียบร้อยก็จะได้ Admission Ticket และอีเมลยืนยันการสมัครสอบ จากนั้นก็สามารถเดินทางไปสอบที่สนามสอบตามวันเวลาที่เลือกเอาไว้ได้เลย (อ่านวิธีการสมัครสอบ SAT แบบละเอียดได้ ที่นี่)

Success Story

Share this article