Skip to content

GED คือ อะไร ?

GED คืออะไร

GED คือ อะไร?

General Educational Development หรือที่เรียกกันแบบย่อว่า GED คือ การสอบเทียบวุฒิการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของระบบอเมริกัน (US High School Equivalency Diploma) มีที่มาจาก American Council on Education (ACE) กรุงวอชิงตัน ดีซี โดยในปัจจุบันถือว่าเป็นวุฒิการศึกษาที่ได้รับการยอมรับจากสถาบันการศึกษาและรัฐบาลจากทั่วโลก รวมถึงทางรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยเองก็ให้การรับรองว่าเป็นวุฒิการศึกษาระดับเทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 (วุฒิม.ปลาย) จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับน้อง ๆ สามารถใช้วุฒิ GED เพื่อยื่นเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในไทยและต่างประเทศ

การสอบเทียบวุฒิ GED เหมาะกับใคร

GED คือ วุฒิการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไปทุกคนสามารถสอบเทียบเพื่อรับวุฒิการศึกษาได้ (ทั้งนี้ ผู้เข้าสอบที่อายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องแนบเอกสารยินยอมจากผู้ปกครองควบคู่ไปกับการสมัครสอบ) เหมาะกับนักเรียนที่ไม่ได้เรียนในระบบปกติ ซึ่งพบได้บ่อยในกรณีที่เรียน Home School, เน็ตไอดอล, นักกีฬา, ดารา, นักแสดง, นักร้อง รวมไปถึงน้อง ๆ ต้องการประหยัดเวลาในการเรียนมัธยมปลาย เพื่อนำเวลาไปทำกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อค้นหาตนเองมากขึ้น หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ที่ต้องการเก็บวุฒิม.ปลาย ก็สามารถสอบ GED ได้เช่นกัน เนื่องจากการสอบเทียบวุฒิ GED ไม่จำกัดเพดานอายุสูงสุด ซึ่งมีคนดังมากมายในหลากหลายวงการตัดสินใจเลือกสอบเทียบวุฒิ GED โดยน้อง ๆ สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่

GED สอบอะไรบ้าง ?

การสอบ GED จะมีรายวิชาการสอบทั้งหมด 4 วิชา ได้แก่ 

  • ภาษาอังกฤษ (Reasoning Through Language Arts), 
  • คณิตศาสตร์ (Mathematical Reasoning), 
  • วิทยาศาสตร์ (Science) 
  • สังคมศึกษา (Social Studies) 

ทุกวิชาสอบเป็นภาษาอังกฤษ โดยแต่ละรายวิชาจะมีคะแนนเต็มวิชาละ 200 คะแนน โดยน้อง ๆ จะต้องสอบให้ได้คะแนนขั้นต่ำที่ 145 คะแนน จึงจะถือว่าสอบผ่านในรายวิชานั้น ๆ ทั้งนี้ การสอบ GED จะเป็นการสอบที่ทราบผลสอบได้ทันที หากสอบไม่ผ่าน สามารถสอบซ้ำได้ถึง 3 ครั้ง แต่หากสอบไม่ผ่านครั้งที่ 4 จะต้องเว้นระยะไป 30 วันก่อนสมัครสอบอีกครั้งหนึ่ง โดยส่วนใหญ่แล้วข้อสอบ GED จะเน้นการคิดวิเคราะห์ และการนำมาประยุกต์ใช้งานจริงมากกว่าท่องจำหรือการแก้โจทย์ 

Reasoning Through Language Arts หรือ RLA

ข้อสอบภาษาอังกฤษด้าน Reading และ Writing วัดทักษะด้านการอ่านจับใจความ การใช้เหตุผล และการใช้งานไวยากรณ์พื้นฐาน กำหนดเวลาการสอบ 150 นาที ลักษณะข้อสอบจะมีเนื้อหาการสอบทั้งหมด 3 รูปแบบ ดังนี้

  • Reading for Meaning
  • Grammar and Language
  • Identifying and Creating Arguments

ข้อสอบ RLA จะมีทั้งเลือกตอบ ลากคำตอบ เติมคำลงในช่องว่าง และการเขียน Essay ซึ่งจะเรียกว่า Extended Response โจทย์จะให้ Argumentative Passage มา 2 เรื่องที่มีความคิดเห็นตรงกันข้ามกัน น้อง ๆ จะต้องทำการสรุปความเห็นโดยยกเหตุผลจาก Passage มาประกอบการอธิบายควบคู่กันไป

หัวข้อ RLA ที่ออกสอบ GED คือ

สำหรับใครที่อยากเตรียมความพร้อมก่อนสอบก็ลองเข้ามาดู 5 เทคนิคพิชิตข้อสอบ RLA และ ตัวอย่างข้อสอบ RLA กันเลย

Mathematical Reasoning

ข้อสอบในรายวิชาคณิตศาสตร์จะกำหนดเวลาการสอบ 115 นาที วัดทักษะด้านการใช้งานตรรกะและการคิดคำนวณ โดยจะมีการแบ่งข้อสอบออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลขในการคิดคำนวณ และส่วนที่อนุญาตให้ใช้งานเครื่องคิดเลขได้ แบ่งเนื้อหาการสอบออกเป็น 4 หัวข้อหลัก ๆ ได้แก่

  • Basic Math
  • Geometry
  • Basic Algebra
  • Graphs and Functions

ข้อสอบ GED Math จะมีทั้งเลือกตอบ ลากตอบ หรือเติมคำตอบลงในช่องว่าง โดยในส่วนที่ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลขจะเน้นไปที่การเลือกใช้สูตรและการคิดเลขให้สอดคล้องกับโจทย์ที่กำหนด ส่วนในข้อที่ใช้งานเครื่องคิดเลขได้จะเน้นไปที่และการแก้ปัญหาทางพีชคณิต

หัวข้อ GED Math ที่ออกสอบ GED คือ

ทั้งนี้ ทาง House of Griffin ก็ได้นำเอา 4 เทคนิคพิชิต GED Math, 10 Checklist ก่อนสอบ GED Math และ ตัวอย่างข้อสอบ GED Math มาฝากกันด้วย

Science

ข้อสอบวิทยาศาสตร์ของ GED จะกำหนดเวลาในการสอบอยู่ที่ 90 นาที วัดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, ดาราศาสตร์ และการทดลองต่าง ๆ มีเนื้อหาการสอบ 3 รูปแบบ ดังนี้

  • Reading for Meaning in Science
  • Designing and Interpreting Science Experiments
  • Using Numbers and Graphics in Science

ข้อสอบ GED Science จะมีทั้งเลือกตอบ ลากตอบ หรือเติมคำตอบลงในช่องว่าง โดยในส่วนของข้อสอบที่ต้องอาศัยทักษะด้านการคำนวณบางข้อก็อนุญาตให้สามารถใช้งานเครื่องคิดเลขในการสอบได้

ตัวอย่างข้อสอบ GED Science

GED คืออะไร และหัวข้อ GED Science ที่ออกสอบ มีดังนี้

Social Studies

ข้อสอบในรายวิชาสังคมของ GED จะเป็นข้อสอบวัดความรู้ด้านสังคมศาสตร์ การเมืองและการปกครอง ไปจนถึงประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และภูมิศาสตร์ กำหนดเวลาการสอบ 70 นาที มีเนื้อหาทั้งหมด 3 ส่วน ดังนี้

  • Reading for Meaning in Social Studies
  • Analyzing Historical Events and Arguments in Social Studies
  • Using Numbers and Graphs in Social Studies

ข้อสอบ Social Studies จะมีทั้งเลือกตอบ ลากตอบ หรือเติมคำตอบลงในช่องว่าง และเนื่องจาก GED มีต้นกำเนิดมาจาก “สหรัฐอเมริกา” โดยเนื้อหาการสอบจะเกี่ยวกับความรู้ด้านสังคมศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก

ตัวอย่างข้อสอบ Social Studies

หัวข้อ Social Studies ที่ออกสอบ GED คือ

GED Ready คืออะไร ?

ข้อสอบ GED Ready คือ ข้อสอบซ้อมก่อนลงสนามสอบ GED จริง โดยทางศูนย์สอบกำหนดให้ผู้ที่ต้องการสอบเทียบวุฒิ GED ทุกคนจะต้องทำการสอบ GED Ready ก่อนสอบจริงทุกครั้งทั้ง 4 รายวิชา โดยข้อสอบ GED Ready จะมีความคล้ายคลึงกับข้อสอบ GED แต่มีจำนวนข้อและระยะเวลาการทำสอบที่น้อยกว่า มีคะแนนเต็มที่ 200 โดยต้องสอบให้ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 145 คะแนน ถือเป็นการเตรียมความพร้อมและช่วยทบทวนจุดบกพร่องที่ควรปรับปรุงก่อนลงสนามสอบจริง

วิธีสมัครสอบ GED Ready คลิกที่นี่

วิธีการสมัครสอบ GED

การสมัครสอบ GED สามารถสมัครได้ง่าย ๆ ผ่านระบบออนไลน์บน www.ged.com โดยน้อง ๆ ทุกคนจะต้องสร้างบัญชีใหม่และกรอกประวัติส่วนตัวให้เรียบร้อย จากนั้นลงทะเบียนสอบ GED Ready ก่อน แล้วจึงจะสามารถเลือกวัน เวลา และสนามสอบที่สะดวกได้ เมื่อดำเนินการชำระค่าสอบผ่านบัตรเครดิตเป็นที่เรียบร้อยก็จะได้รับอีเมลยืนยันการสมัครสอบ ทั้งนี้ น้อง ๆ สามารถอ่านรายละเอียดวิธีการสมัครสอบ GED และรายชื่อสนามสอบ GED ในประเทศไทยได้ ที่นี่

อัตราค่าสมัครสอบ GED

ในส่วนของค่าธรรมเนียมการสอบ GED จะอยู่ที่วิชาละ $80 USD ส่วนค่าสอบ GED Ready จะอยู่ที่รายวิชาละ $6.99 USD แต่ถ้าน้อง ๆ คนไหนเลือกลงสมัครสอบ GED Ready แบบพร้อมกัน 4 วิชา อัตราค่าสมัครสอบจะอยู่ที่ $22.99 USD

วิธีการเทียบวุฒิ GED

เมื่อเราสอบ GED ผ่านครบทุกรายวิชาและได้ผลคะแนนเป็นที่น่าพอใจแล้ว น้อง ๆ ต้องดำเนินการยื่นขอเอกสารทางการศึกษาเพื่อนำไปลงทะเบียนในระบบ TCAS หรือใช้เป็นเอกสารยื่นสมัครตรงที่มหาวิทยาลัย ผ่านระบบเทียบวุฒิที่เว็บไซต์ https://hsces.atc.chula.ac.th โดยเอกสารที่สามารถขอได้จะมี 3 ประเภท

  1. ใบรับรองเทียบวุฒิการศึกษา (High School Equivalence Certificate) 
  2. ใบแทนใบรับรองเทียบวุฒิการศึกษา (Provisional Equivalence Certificate) 
  3. ใบเทียบผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX Equivalence Certificate)

โดยสามารถอ่านขั้นตอนการยื่นขอเทียบวุฒิอย่างละเอียดได้ ที่นี่

GED ใช้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยไหนได้บ้าง ?

การสอบเทียบวุฒิ GED สามารถนำเอาไปใช้เพื่อยื่นเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้ทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยเกณฑ์การรับเข้าศึกษาอาจจะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละมหาวิทยาลัย แต่สำหรับน้อง ๆ ที่จะเรียนต่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยทั้งหลักสูตรภาคไทย (บางคณะ) และอินเตอร์ส่วนใหญ่จะระบุให้ใช้คะแนนตั้งแต่ 145 คะแนนขึ้นไป อย่างไรก็ตาม สำหรับเกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อของแต่ละหลักสูตร ทางพี่ ๆ House of Griffin ขอแนะนำให้น้อง ๆ เช็ก Requirement กับทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยตรงอีกครั้งหนึ่ง เพราะในบางหลักสูตรอาจจะกำหนดคะแนนที่มากกว่า 145 คะแนน และอาจต้องมีการใช้คะแนนสอบวัดความถนัดอื่น ๆ อย่าง SAT, ACT หรือคะแนนภาษาอังกฤษในการสมัครร่วมด้วย

ตัวอย่างรายชื่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่เปิดรับวุฒิ GED

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
  • สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

GED และ IGCSE ต่างกันอย่างไร ?

การสอบ GED คือ การเทียบวุฒิระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีที่มาจากสหรัฐอเมริกา มีจำนวนวิชาเพียง 4 วิชา สามารถทยอยสอบเป็นรายวิชา รวมถึงสามารถเลือกวิชาสอบก่อน – หลัง ได้อย่างอิสระ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้สอบ โดย GED จะมีการจัดสอบทุกวัน มีเวลาหลายรอบให้เลือกสอบได้ ทราบผลคะแนนสอบทันทีหลังสอบเสร็จ เมื่อสอบผ่านแล้วจะทำการส่ง E-Diploma และ E-Transcript ให้กับผู้สอบ โดยหากต้องการรับใบประกาศนียบัตรและผลการสอบ GED ในรูปแบบกระดาษ จะต้องยื่นคำร้องขอเอกสารและชำระค่าส่งเพิ่มเติม

รวมคำถามเกี่ยวกับ GED Diploma & Transcript อ่านเพิ่มเติมคลิก

ส่วน IGCSE คือ หลักสูตรการศึกษาจากประเทศอังกฤษที่สอบเทียบวุฒิการศึกษาเทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 4 มีรายวิชาที่ต้องสอบอย่างน้อย 5 วิชา (จาก 70 วิชาที่มีให้เลือก) และหากต้องการได้วุฒิเทียบเท่าระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนจะต้องสอบ A-Level อีก 3 วิชา (สามารถเลือกรายวิชาที่จะสอบได้) โดย IGCSE มีการจัดสอบเพียงปีละ 2 ครั้ง ทราบผลสอบประมาณ 2 เดือนให้หลัง โดยหากสอบผ่านจะต้องติดต่อรับเอกสารวุฒิการศึกษาด้วยตัวเองที่ศูนย์สอบ

ความแตกต่างระหว่าง GED VS IGCSE อ่านเพิ่มเติม คลิก

เตรียมความพร้อมก่อนสอบ GED กับ House of Griffin

เพิ่มความมั่นใจก่อนสมัคร GED สอบให้ผ่านในครั้งเดียวกับ House of Griffin สถาบันติวสอบ GED อันดับ 1 ได้รับการรับรองจาก GED Official สหรัฐอเมริกาโดยตรง ให้เป็น Authorized GED Test Prep Provider เพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย มั่นใจในคุณภาพการสอนด้วยประสบการณ์กว่า 14 ปี การันตีสอบผ่าน 100% (ตามเงื่อนไขที่ทางโรงเรียนกำหนด) ภายในระยะเวลา 2 เดือน เปิดสอนทั้งหลักสูตรแบบออนไลน์และหลักสูตรเรียนในห้องเรียน ตอบโจทย์ทุกความต้องการของน้อง ๆ ทุกคน เริ่มต้นเตรียมตัวสอบ GED ต้องที่ House of Griffin เท่านั้น

Success Story

น้อง Tin นักเรียนคอร์สติว GED ที่ House of Griffin
น้อง Chanta นักเรียนคอร์ส GED ที่ House of Griffin
น้อง Ant นักเรียนคอร์สติว GED ที่ House of Griffin
น้อง Neo นักเรียนคอร์สติวสอบ GED ที่ House of Griffin
น้อง Anie นักเรียนคอร์สติว GED ที่ House of Griffin
น้อง Fai นักเรียนคอร์สติว GED ที่ House of Griffin
น้อง Pair นักเรียนคอร์สติวสอบ GED ที่ House of Griffin
น้อง Jaonaay นักเรียนคอร์สติวสอบ GED ที่ House of Griffin
น้อง New นักเรียนคอร์ส GED ที่ House of Griffin
Share this article