Skip to content

รวมเกณฑ์ Admission คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคอินเตอร์ (อัปเดตล่าสุด)

Engineering inter

ช่วงนี้น้อง ๆ ม.6 ก็คงกำลังมองหาคณะและมหาวิทยาลัยที่อยากเข้ากันอยู่ใช่ไหม บางคนที่มีคณะในฝันแล้ว ก็สามารถไปศึกษาเกณฑ์ของปีต่าง ๆ ที่ผ่านมา และเตรียมตัวสอบได้เลย แต่สำหรับอีกหลาย ๆ คนที่ยังไม่รู้ว่าอยากเรียนอะไร ก็ยังเหลือเวลาอยู่อีกนิดหน่อย ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงของการสอบมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง วันนี้ทาง House of Griffin มีเกณฑ์ Admission คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติมาฝากทุกคนกัน เพราะคณะนี้ก็เป็นอีกคณะที่เป็นที่นิยมในหมู่นักเรียน และเป็นคณะที่ใฝ่ฝันของใครหลาย ๆ คน หรือถ้าใครยังตัดสินใจไม่ได้ เราก็แนะนำให้ลงมาดูก่อน เผื่อสามารถที่จะเอาไปเป็นไอเดียในการเตรียมตัวสอบ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นคณะสายวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความนิยม เพราะเป็นวิชาที่เป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในชีวิต และการทำงานได้หลายรูปแบบ แถมอาชีพวิศวกรยังเป็นที่ต้องการมากของตลาดในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีสาขาวิชามากมายให้เลือกเรียนได้ตามความชอบ ความถนัดของแต่ละคน และในประเทศไทยเองก็มีตัวเลือกมหาวิทยาลัย ที่เป็นหลักสูตรอินเตอร์หลากหลายแห่ง และวันนี้เราก็ได้รวบรวมเกณฑ์ Admission คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ ของมหาวิทยาลัยชื่อดังไว้ เกณฑ์นี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถเตรียมตัวได้ดียิ่งขึ้น และจะได้รู้ว่าเราต้องทำคะแนนสอบเท่าไหร่ ถึงจะสามารถเข้าเรียนคณะในฝันได้ จะมีที่ไหนบ้าง ไปดูกันเลย

 

เกณฑ์ Admission คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคอินเตอร์ ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University – CU)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในคณะก่อตั้งของมหาวิทยาลัย โดยหลักสูตรนานาชาติได้เปิดรับนิสิตและเปิดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปี 2548 เพื่อเป็นการยกระดับความรู้เชิงวิชาการ ไปพร้อมกับประสบการณ์แบบนานาชาติ โดยสาขาวิชาของคณะวิศวกรรมศาสตร์มีด้วยกัน 5 สาขา

  1. วิศวกรรมนาโน – Nano Engineering
  2. วิศวกรรมอากาศยาน – Aerospace Engineering
  3. วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร – Information and Communication Engineering
  4. วิศวกรรมการออกแบบและผลิตยานยนต์ – Automotive Design and Manufacturing Engineering
  5. วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ – Robotics and Artificial Intelligence Engineering

คะแนนที่ต้องใช้ยื่นมี 3 ชุด คือ คะแนนทักษะภาษาอังกฤษ คะแนนทักษะทางคณิตศาสตร์ และคะแนนทักษะทางวิทยาศาสตร์

วิชา
คะแนนที่ใช้ยื่น
ภาษาอังกฤษ
(เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
  • CU-TEP – 80
  • TOEFL (iBT) – 80
  • IELTS (Academic) – 6.0
  • Duolingo English Test – 105
คณิตศาสตร์
(เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
  • CU-AAT – 480SAT (Math) – 620
  • A Level (Mathematics) – B
  • A Level (Mathematics) Predicted Grade – A
  • IB (Mathematics) HL – 6
  • IB (Mathematics) HL Predicted Grade – 6
  • ACT Math – 26
  • AP Calculus (AB or BC) – 4
วิทยาศาสตร์
(เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
  • CU-ATS – 800
  • A Level (Physics และ Chemistry) – B
  • A Level (Physics และ Chemistry) Predicted Grade – A
  • IB (Physics และ Chemistry) HL – 6
  • IB (Physics และ Chemistry) HL Predicted Grade – 6
  • ACT (Science) – 25
  • AP Chemistry และ AP Physics (1 or C) – 4

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร: 27 พฤศจิกายน – 21 ธันวาคม 2566
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University – TU)

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถือเป็นอีกมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับคณะวิศวกรรมหลักสูตรนานาชาติ เห็นได้จากที่มีหลักสูตรนานาชาติถึง 3 หลักสูตร นั่นก็คือ

  1. สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (Sirindhorn International Institute of Technology – SIIT)
  2. โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตสองสถาบัน (TEP: Twinning Engineering Programme) – เรียน 2 ปีแรกที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อีก 2 ปีหลัง เลือกเรียน 1 ใน 3 มหาวิทยาลัยคู่สัญญา ได้แก่ The University of Nottingham (UK), The University of New South Wales, Australia และ KU Leuven, Belgium
  3. โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตหลักสูตรนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ TEPE (Thammasat English Programme of Engineering)

โดยหลักเกณฑ์การสอบเข้าของแต่ละหลักสูตรก็จะไม่เหมือนกัน โดยจะมี 2 เกณฑ์ คือ เกณฑ์ของ SIIT และ เกณฑ์ของ TEP-TEPE

A : โครงการสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (Sirindhorn International Institute of Technology – SIIT)

Bachelor of Engineering (B.Eng.)

  1. Chemical Engineering (ChE)
  2. Civil Engineering (CE)
  3. Mechanical Engineering (ME)
  4. Industrial Engineering and Logistics Systems (IE)
  5. Electrical Engineering (EE)
  6. Computer Engineering (CPE)
  7. Digital Engineering (DE)

Bachelor of Science (B.Sc.)

  1. Engineering Management (EM)
  2. Management Technology (MT)

สำหรับคะแนนที่ใช้ยื่นเข้า SIIT ทางคณะได้เปิดให้ยื่นได้หลากหลายวิชา โดยให้ผู้สมัครเลือกคะแนนสอบแค่ 1 วิชา ซึ่งในแต่ละสาขามีคะแนนที่ต้องการแตกต่างกัน น้อง ๆ สามารถตรวจสอบได้ที่ลิงก์นี้ คลิก

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร:

  • รอบ Portfolio 1: 22 พฤศจิกายน – 22 ธันวาคม 2566
  • รอบ Portfolio 2: 25 กุมภาพันธ์ – 25 มีนาคม 2567
  • รอบ Admission 1: 18 เมษายน – 8 พฤษภาคม 2567
  • รอบ TCAS 3 (Admission): 6 พฤษภาคม – 12 พฤษภาคม 2567

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

B : โครงการหลักสูตร TEP และ TEPE

โครงการนี้มีแผนการเรียนให้น้อง ๆ เลือก ดังนี้

  1. Chemical Engineering (ChE)
  2. Civil Engineering (CE)
  3. Electrical Engineering (EE)
  4. Industrial Engineering (IE)
  5. Mechanical Engineering (ME)

คะแนนที่ต้องใช้ยื่น:

คะแนนภาษาอังกฤษ
(เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
คะแนนมาตรฐาน
(เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
  • TU-GET (PBT) – 500
  • TU-GET (CBT) – 61
  • TOEFL (IBT) – 61
  • TOEFL (PBT) – 500
  • IELTS (Academic) – 6.0
  • SAT
    • Math – 620
    • Evidence-Based Reading & Writing – 400
  • IB Diploma (Math & Physics) – 5 คะแนน
  • ACT (Composite score) – 21 คะแนน และ Math & Science – 20 คะแนน แต่ละวิชา
  • A Level (Math & Physics) – เกรดไม่ต่ำกว่า B แต่ละวิชา
  • GSAT (Math) – 620 คะแนน และ GSAT (Reading & Writing) – 400 คะแนน

การยื่นคะแนน (Application Tracks)

มีทั้งหมด 3 ช่องทาง โดยให้ผู้สมัครเลือกช่องทางที่เหมาะสมมากที่สุดเพียง 1 ช่องทาง

Track 1 : ยื่น portfolio เฉพาะรอบ Portfolio 1 เท่านั้น

  1. แฟ้มสะสมผลงาน แสดงผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
  2. จดหมายแนะนำตัว ระบุถึงความสนใจทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
  3. ผลคะแนนภาษาอังกฤษ (ตามข้อมูลด้านบน)

Track 2 : ยื่นผลการเรียนระดับม.ปลาย และคะแนนภาษาอังกฤษ (ยื่นสมัครได้ทุกรอบ)

  1. ผลการเรียนระดับม.ปลาย ไม่น้อยกว่า 4 ภาคการศึกษา มี GPA ในกลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 3.00
  2. ผลคะแนนภาษาอังกฤษ (ตามข้อมูลด้านบน)

Track 3 : ยื่นคะแนนมาตรฐานและคะแนนภาษาอังกฤษ (ยื่นสมัครได้ทุกรอบ)

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร:

  • รอบ Portfolio 1: เดือนตุลาคม
  • รอบ Portfolio 2: 15 – 29 กุมภาพันธ์ 2567
  • รอบ Admission: 18 – 29 เมษายน 2567

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University – KU)

เป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ มาตั้งแต่ปี 2546 เพราะเล็งเห็นถึงความสำคัญของความรู้ และการใช้คู่กับภาษาอังกฤษ และมีสาขาให้เลือกมากถึง 6 สาขา ดังนี้

  1. วิศวกรรมเครื่องกล – Mechanical Engineering
  2. วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต – Electrical-Mechanical Manufacturing Engineering
  3. วิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ – Software and Knowledge Engineering
  4. วิศวกรรมอุตสาหการ – Industrial Engineering
  5. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม – Environmental Engineering
  6. วิศวกรรมไฟฟ้า (การสื่อสาร) – Electrical Engineering (Communication)

คะแนนที่ต้องใช้ยื่น:

คะแนนภาษาอังกฤษ
(เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
คะแนนมาตรฐาน
(เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
  • TOEFL (IBT) – 61
  • IELTS (Academic) – 5.5
  • Duolingo – 95
SAT – Math 600 + Critical Reading 400

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร:

  • รอบที่ 1 1 พ.ย. 66 – 4 ม.ค. 67
  • รอบที่ 2 15 ก.พ. – 21 มี.ค. 67
  • รอบที่ 3 6 – 12 พ.ค. 67

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang – KMITL)

ถ้าพูดถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์ จะไม่พูดถึง มจล. ก็คงจะไม่ได้ เพราะที่นี่ถือได้ว่าเป็นสถาบันชั้นนำ ที่ผลิตบุคคลากรด้านวิศวกรรมศาสตร์มาอย่างยาวนาน หลักสูตรนานาชาติ คณะวิศวกรรมของที่นี่ ก็มีสาขาให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

  1. วิศวกรรมนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ – Computer Innovation Engineering
  2. วิศวกรรมเคมี – Chemical Engineering
  3. วิศวกรรมโยธาและโครงสร้าง – Civil Engineering
  4. วิศวกรรมอุสาหการและระบบบริหารจัดการ – Industrial Engineering and Logistics Management
  5. วิศวกรรมชีวการแพทย์ – Biomedical Engineering
  6. วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ – Robotics and Artificial Intelligence Engineering
  7. วิศวกรรมไฟฟ้า – Electrical Engineering
  8. วิศวกรรมเครื่องกล – Mechanical Engineering
  9. วิศวกรรมพลังงาน – Energy Engineering
  10. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ – Software Engineering
  11. วิศวกรรมการเงิน – Financial Engineering
  12. การจัดการวิศวกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ – Engineering Management and Entrepreneurship

คะแนนที่ต้องใช้ยื่น:

คะแนนภาษาอังกฤษ
(เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
คะแนนวิชาการ
(เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
  • TOEFL (iBT) – 79
  • TOEFL (paper-based) – 550
  • TOEFL (CBT) – 213
  • IELTS (Academic) – 6.0
  • KMITL-TEP B2
  • SAT – 1020
  • GSAT – 1020
  • ACT – 19

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร: ตั้งแต่วันนี้ – 20 ธันวาคม 2566

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (Assumption University – ABAC)

มหาลัยเอกชนชื่อดัง ที่มีการเรียนการสอนเป็นหลักสูตรนานาชาติทั้งหมดอย่างเอแบค ก็มีคณะวิศวกรรมเป็นตัวเลือกให้ผู้ที่สนใจเช่นเดียวกัน โดยจะมีสาขาดังต่อไปนี้

  1. วิศวกรรมไฟฟ้า – Electrical Engineering
  2. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ – Computer Engineering
  3. วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ – Mechatronics Engineering
  4. วิศวกรรมการบิน – Aeronautic Engineering
    • วิชาเอกนักบินพาณิชย์ตรี – Commercial Pilot License
    • วิชาเอกซ่อมบำรุงอากาศยาน – Aircraft Maintenance Engineer

คะแนนที่ต้องใช้ยื่น (Optional Test Scores) – ผลสอบมีอายุไม่เกิน 2 ปี

คะแนนที่ต้องใช้ยื่น:

เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยจะมีการจัดสอบ English Proficiency-level test และ Mathematics and Physics Test เองอยู่แล้ว ดังนั้นผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษและคะแนนมาตรฐานจึงเป็นทางเลือกที่น้องๆ จะยื่นหรือไม่ยื่นก็ได้ ซึ่งถ้าน้อง ๆ มีผลคะแนนสอบ แล้วผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จะได้รับการยกเว้นคอร์ส English Placement Test, English Intensive Course, Mathematics Placement Test, Mathematics Intensive Course หรือ Pre-Calculus เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและลดเวลาในการเรียน

  • TOEFL (iBT) – 60
  • IELTS (Academic) – 5.0
  • SAT (Mathematics) – 500
  • SAT (Evidence-based Reading and Writing) – 600

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร: วันนี้ – 19 มีนาคม 2567

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับเกณฑ์การสมัครเข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคอินเตอร์ ที่เราได้นำมาฝากน้อง ๆ ในวันนี้ แต่ละมหาวิทยาลัยมีการรับคะแนนที่ค่อนข้างแตกต่างกันและหลากหลายทางเลือกเลยทีเดียว อย่างไรก็ดี เราขอแนะนำให้น้อง ๆ เลือกสอบข้อสอบที่สามารถนำไปยื่นคะแนนได้ในหลาย ๆ ที่ ในด้านของภาษาอังกฤษ ควรเลือกเป็น IELTS หรือ TOEFL และด้านวิชาการเราขอแนะนำให้เลือกสอบ SAT เพราะข้อสอบเหล่านี้เป็นทางเลือกในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง

ซึ่งถ้าน้อง ๆ อยากเพิ่มความมั่นใจในการสอบ SAT ทาง House of Griffin ก็มีคอร์สเรียนเสริม เตรียมตัวก่อนสอบให้ได้เลือกเรียนตามพื้นฐานของตัวเอง รวมไปถึงคอร์สติวข้อสอบ พร้อม Mock Test ให้ได้ฝึกลงสนามก่อนไปสอบจริงได้

สนใจเรียน SAT อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย www.houseofgriffin.com/courses/sat/

หรือถ้าใครกังวลเรียนภาษาอังกฤษ กลัวสอบ IELTS ได้ไม่ถึงเกณฑ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ก็สามารถลงเรียนเพิ่มทักษะกับทางโรงเรียนได้เหมือนกัน เพราะเรามีคอร์สเรียนติวเข้ม 70 ชม. เตรียมพร้อมสำหรับการสอบ IELTS พร้อมการันตีผลสอบได้มากกว่า 6.0 แน่นอน หรือถ้าอยากเรียนเป็นแบบส่วนตัว เราก็มีให้เลือกได้ตามความต้องการของน้อง ๆ เช่นเดียวกัน

Share this article