
หลังจากที่ระบบ TCAS ได้เปิดให้ลงทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา น้อง ๆ #Dek68 ทุกคนน่าจะเริ่มตื่นเต้นกับการเตรียมตัวเป็นนักศึกษาหน้าใหม่ในมหาวิทยาลัยในฝันกันแล้วอย่างแน่นอน โดยเฉพาะกับคนที่วางแผนอยากเข้า CU Inter เพราะทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ประกาศปฏิทิน TCAS 68 ออกมาเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งในรอบ Early Admission ของปีนี้ก็จะเปิดรับสมัครกันในวันที่ 25 พฤศจิกายนไปจนถึง 25 ธันวาคม 2567 นี้แล้ว ซึ่งถ้าใครวางแผนอยากเข้าคณะอินเตอร์ จุฬาฯ แล้วละก็ พี่กริฟฟินขอแนะนำให้เตรียมสมัครกันตั้งแต่รอบนี้ เพราะหลาย ๆ คณะของ CU Inter จะเปิดรับนิสิตในรอบนี้เยอะกว่าในรอบ Admission ในช่วงต้นปีหน้า วันนี้พี่กริฟฟินเลยเอาเกณฑ์การยื่นสมัครรอบ Early Admission ของคณะอินเตอร์ จุฬาฯ พร้อมแนะนำวิธีติวเข้าจุฬาฯ อินเตอร์มาฝากกัน
เกณฑ์รับสมัครสอบจุฬาฯ อินเตอร์ รอบ 1 Early Admission
คณะอักษรศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ (BALAC)
BALAC (Bachelor of Arts in Language and Culture) หรือคณะอักษรศาสตร์ ภาคอินเตอร์ สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมของจุฬา ถือว่าเป็นคณะเบอร์ต้น ๆ ที่น่าจับตามองและเป็นคณะในฝันสำหรับสายสังคมหลาย ๆ คน เพราะนอกจากจะมีหลักสูตรย่อยให้เลือกเรียนอย่างหลากหลายทั้งในเชิงภาษาศาสตร์, สังคมศาสตร์, มนุษย์ศาสตร์ หรือวัฒนธรรมแล้ว ยังมีตัวเลือก “ภาษา” ให้ลงเรียนตามความชื่นชอบของแต่ละคนอีกด้วย โดยในปีนี้ทาง BALAC ก็เปิดรับนิสิตในรอบ Early Admission ถึง 90 คนเลยทีเดียว
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อรอบ Early Admission ของคณะอักษรศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ (BALAC)
กำลังศึกษา หรือจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
มีคะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (iBT) ไม่ต่ำกว่า 95
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 7.0
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 90
- DET ไม่ต่ำกว่า 130
มีคะแนนผลสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- CU-AAT (Math) ไม่ต่ำกว่า 480
- SAT (Math) ไม่ต่ำกว่า 480
- ACT (Math) ไม่ต่ำกว่า 34
อ่านประกาศฉบับเต็มเรื่องเกณฑ์การรับสมัครนิสิตของ BALAC คลิก
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรอินเตอร์ (BBA)
สำหรับสายธุรกิจก็ขอแนะนำหลักสูตร BBA (Bachelor of Business Administration) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีของจุฬาอินเตอร์เลย เพราะเป็นหลักสูตรที่เปิดสอนมาอย่างยาวนานและมีมาตรฐานสูงจนได้รับรางวัล Triple Crown Accreditation จาก EQUIS (European Quality Improvement System), AACSB (the Association to Advance Collegiate Schools of Business) และ AMBA (Association of MBA) ซึ่งก็สามารถเลือกเรียนได้ถึง 2 สาขาวิชา ได้แก่
- สาขาวิชาการบัญชี (Accounting)
- สาขาวิชาการบริการธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Management) ที่มีสาขาวิชาย่อยให้เลือกเรียนถึง 3 สาขา ดังนี้
2.1 การจัดการธุรกิจดิจิทัล (Digital Business Management)
2.2 การวิเคราะห์การเงินและการลงทุน (Financial Analysis and Investment)
2.3 การจัดการแบรนด์และการตลาด (Brand and Marketing Management)
โดยรอบ Early Admission ก็มีการรับสมัครนิสิตถึง 2 โครงการ ได้แก่ โครงการรับเข้าศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจทั่วไป จำนวน 180 คน และโครงการ BBA-NextGen Admission (โควตาพิเศษ) จำนวน 10 คน (สามารถเลือกสมัครได้เพียงแค่ 1 โครงการเท่านั้น)
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อรอบ Early Admission ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรอินเตอร์ (BBA)
อายุไม่ต่ำกว่า 17 ปี และกำลังศึกษาหรือจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
มีคะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (iBT) ไม่ต่ำกว่า 79
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5
- CU-TEP & Speaking ไม่ต่ำกว่า 101 (ต้องเป็นผลการสอบรอบเดียวกันเท่านั้น)
มีคะแนนผลสอบวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษและวัดความถนัดคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผลคะแนนสอบที่ยื่นจะต้องเป็นรอบเดียวกัน ไม่สามารถยื่นคะแนนแบบคละรอบสอบในแต่ละพาร์ทได้ ดังนี้
- CU-AAT 1200
- SAT 1270
อ่านประกาศฉบับเต็มเรื่องเกณฑ์การรับสมัครนิสิตของ BBA (รอบ Early Admission) คลิก
เกณฑ์การรับเข้าศึกษา หลักสูตร BBA โครงการ BBA-NextGen Admission (โควตาพิเศษ)
อายุไม่ต่ำกว่า 17 ปี และกำลังศึกษาจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
มีคะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (iBT) ไม่ต่ำกว่า 79
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5
- CU-TEP & Speaking ไม่ต่ำกว่า 101 (ต้องเป็นผลการสอบรอบเดียวกันเท่านั้น)
มีคะแนนผลสอบวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษและวัดความถนัดคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผลคะแนนสอบที่ยื่นจะต้องเป็นรอบเดียวกัน ไม่สามารถยื่นคะแนนแบบคละรอบสอบในแต่ละพาร์ทได้ ดังนี้
- CU-AAT 1230
- SAT 1300
มี Video Resume และ Portfolio ที่แสดงถึงความสามารถทางวิชาการระดับชาติ หรือระดับนานาชาติในด้านวิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, ธุรกิจ หรือการสื่อสาร
อ่านประกาศฉบับเต็มเรื่องเกณฑ์การรับสมัครนิสิตของ BBA (โครงการ BBA-NextGen Admission) คลิก
คณะจิตวิทยา หลักสูตรอินเตอร์ (JIPP)
ถ้าใครสนใจเรียนในสายจิตวิทยาต้องขอบอกเลยว่าหลักสูตรนี้น่าสนใจมาก เพราะคณะจิตวิทยา หลักสูตรอินเตอร์ หรือ JIPP (Joint International Psychology Program) ของจุฬาฯ นั้นมีการบูรณาการหลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัย UQ (University of Queensland) ที่ประเทศออสเตรเลีย โดยน้อง ๆ จะได้เรียนที่ไทย 2 ปีแรก ถัดมาในปี 3 และปี 4 เทอมหนึ่งจะได้เดินทางไปเรียนที่ออสเตรเลีย ก่อนจะกลับมาเรียนเทอมสุดท้ายที่ประเทศไทย และได้รับปริญญาถึง 2 ใบจาก 2 สถาบันเลยทีเดียว ซึ่งในปีนี้ทาง JIPP ได้มีการเปิดรับนิสิตในรอบ Early Admission เป็นจำนวน 40 คน
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อรอบ Early Admission ของคณะจิตวิทยา หลักสูตรอินเตอร์ (JIPP)
อายุ 16 ปีขึ้นไปในวันเริ่มเรียน และกำลังศึกษา หรือจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า โดยหากยื่นวุฒิ IB (Diploma) จะต้องมีระดับไม่ต่ำกว่า 35 หรือ AP ไม่ต่ำกว่า 78 (หากยื่นผล AP ต้องยื่นคะแนน SAT ในรอบเดียวกันในการสมัคร)
มีคะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (iBT) ไม่ต่ำกว่า 88
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 104
มีคะแนนผลสอบวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษและวัดความถนัดคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผลคะแนนสอบที่ยื่นจะต้องเป็นรอบเดียวกัน ไม่สามารถยื่นคะแนนแบบคละรอบสอบในแต่ละพาร์ทได้ ดังนี้
- SAT ไม่ต่ำกว่า 1100
- CU-AAT ไม่ต่ำกว่า 1030
อ่านประกาศฉบับเต็มเรื่องเกณฑ์การรับสมัครนิสิตของ JIPP คลิก
คณะนิติศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ (LLBel)
ในส่วนของคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ อินเตอร์ จะเปิดรับเฉพาะสาขากฎหมายธุรกิจและเทคโนโลยี LLBel (Business and Technology Law) เท่านั้น ซึ่งในตัวหลักสูตรนี้ก็จะมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจทั้งในด้านกฎหมายและธุรกิจ ควบคู่ไปกับการทำความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีให้เท่าทันโลก สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทั้งสามด้านเข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในรอบ Early Admission ก็เปิดรับนิสิตทั้งหมด 60 คน
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อรอบ Early Admission ของคณะนิติศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ (LLBel)
กำลังศึกษา หรือจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
มีคะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (iBT) ไม่ต่ำกว่า 79
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 88
มีคะแนน SAT ไม่ต่ำกว่า 1200 โดยคะแนนส่วน Evidence-based Reading and Writing จะต้องไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน และผลคะแนน SAT จะต้องเป็นผลสอบในครั้งเดียวกันเท่านั้น (ไม่สามารถคละรอบการสอบได้)
อ่านประกาศฉบับเต็มเรื่องเกณฑ์การรับสมัครนิสิตของ LLBel คลิก
คณะรัฐศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ (PGS)
สำหรับคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ อินเตอร์จะมีการเปิดรับนิสิตเฉพาะในสาขาการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา หรือ Politics and Global Studies (PGS) ที่เป็นหลักสูตรบูรณาการร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งน้อง ๆ จะสามารถเลือกรูปแบบการเรียนได้ทั้งถึง 2 รูปแบบ ดังนี้
- การเรียนรูปแบบที่ 1
ปีที่ 1 และ 4 ศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ปีที่ 2-3 ศึกษาที่มหาวิทยาลัย University of Essex จากสหราชอาณาจักร
- การเรียนรูปแบบที่ 2
ปีที่ 1 และ 4 ศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ปีที่ 2-3 ศึกษาที่ University of Queensland ประเทศออสเตรเลีย
โดยรอบ Early Admission ก็มีการรับสมัครนิสิตทั้งหมด 50 คน
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อรอบ Early Admission ของคณะรัฐศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ (LLBel)
กำลังศึกษา หรือจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า โดยมีเกรดเฉลี่ย 3.0 ขึ้นไป โดยหากยื่นวุฒิอื่น ๆ จะต้องมีเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำ ดังนี้
- GED จะต้องมีคะแนนทุกรายวิชาไม่ต่ำกว่า 145 คะแนน
- GCE (A Level) เกรด A*-E อย่างน้อย 3 รายวิชา
- Cambridge Pre-U Test เกรด M1 หรือ D1-D3 อย่างน้อย 3 รายวิชา
มีคะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (iBT) ไม่ต่ำกว่า 87 (โดยมีคะแนน Writing ไม่ต่ำกว่า 21, Speaking ไม่ต่ำกว่า 20, Listening และ Reading ไม่ต่ำกว่า 19)
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5
มีคะแนนผลสอบวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษและวัดความถนัดคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผลคะแนนสอบที่ยื่นจะต้องเป็นรอบเดียวกัน ไม่สามารถยื่นคะแนนแบบคละรอบสอบในแต่ละพาร์ทได้ ดังนี้
- CU-AAT (Verbal) ไม่ต่ำกว่า 500 หรือคะแนนรวม CU-AAT ไม่ต่ำกว่า 1200
- SAT (Evidence-based Reading and Writing) ไม่ต่ำกว่า 500 หรือคะแนนรวม SAT ไม่ต่ำกว่า 1200
อ่านประกาศฉบับเต็มเรื่องเกณฑ์การรับสมัครนิสิตของ PGS คลิก
นวัตกรรมบูรณาการ หลักสูตรอินเตอร์ (BAscii)
หลักสูตร BAscii (Bachelor of Arts and Science in Integrated Innovation) หรือนวัตกรรมบูรณาการ ของจุฬาฯ อินเตอร์ เป็นหลักสูตรประยุกต์ที่เหมาะกับคนที่สนใจอยากทำธุรกิจแนว Start up เพราะนอกจากจะได้เรียนรู้ในด้านการจัดการธุรกิจควบคู่ไปกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแล้ว ยังส่งเสริมความรู้ในด้านการคิดค้นนวัตกรรมต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่ผ่านการทำ Project เพื่อจำลองการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และสำหรับในรอบ Early Admission ก็ได้เปิดรับนิสิตถึง 65 คนเลยทีเดียว
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อรอบ Early Admission ของนวัตกรรมบูรณาการ หลักสูตรอินเตอร์ (BAscii)
กำลังศึกษา หรือจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
มีคะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (iBT) ไม่ต่ำกว่า 80
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 100
- SAT (Evidence-based Reading and Writing) ไม่ต่ำกว่า 500
- ACT (English & Reading) ไม่ต่ำกว่า 37
มีคะแนนผลสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผลคะแนนสอบที่ยื่นจะต้องเป็นรอบเดียวกัน ไม่สามารถยื่นคะแนนแบบคละรอบสอบในแต่ละพาร์ทได้ ดังนี้
- SAT (Math) ไม่ต่ำกว่า 640
- CU-AAT (Math) ไม่ต่ำกว่า 620
- ACT (Math) ไม่ต่ำกว่า 27
มี E-Portfolio ที่แสดงประวัติผลงานทางวิชาการ, โครงงาน, กิจกรรม หรือประสบการณ์ทั้งในและนอกห้องเรียนที่มีความโดดเด่น
อ่านประกาศฉบับเต็มเรื่องเกณฑ์การรับสมัครนิสิตของ BAscii คลิก
คณะนิเทศศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ (BCM)
ในส่วนของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ อินเตอร์ BCM (Bachelor of Communication Management) จะมีการเปิดสอนเฉพาะสาขาการจัดการการสื่อสารที่เน้นการเรียนด้านการบริหารจัดการสื่อรูปแบบต่าง ๆ และการสร้างสรรค์ออกแบบสื่อในยุค Information Age ควบคู่ไปกับจรรยาบรรณสื่อ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์และจัดการสื่อต่าง ๆ ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ได้อย่างเหมาะสม ก้าวทันเทคโนโลยี และในรอบ Early Admission ปีนี้ก็เปิดรับนิสิตใหม่ทั้งหมด 60 คน
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อรอบ Early Admission ของคณะนิเทศศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ (BCM)
กำลังศึกษา หรือจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
มีคะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (iBT) ไม่ต่ำกว่า 90
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 88
- DET* ไม่ต่ำกว่า 110
- CU-AAT ไม่ต่ำกว่า 440
- SAT (Evidence-Based Reading & Writing)* ไม่ต่ำกว่า 500
- ACT (English + Reading) ไม่ต่ำกว่า 37
มีคะแนนผลสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผลคะแนนสอบที่ยื่นจะต้องเป็นรอบเดียวกัน ไม่สามารถยื่นคะแนนแบบคละรอบสอบในแต่ละพาร์ทได้ ดังนี้
- CU-AAT ไม่ต่ำกว่า 580
- SAT (Math)* ไม่ต่ำกว่า 600
- ACT (Math) ไม่ต่ำกว่า 25
มี E-Portfolio ตามรูปแบบที่ทางคณะกำหนด พร้อมแนบผลงานตามโจทย์ที่กำหนดในหัวข้อ “Tech That Brings Us Together” (ดาวน์โหลดตัวอย่าง E-Portfolio ที่นี่)
อ่านประกาศฉบับเต็มเรื่องเกณฑ์การรับนิสิตของ BCM และรายละเอียดโจทย์ในการทำ E-Portfolio คลิก
* ส่งคะแนนผ่านระบบเท่านั้น โดยสามารถดูวิธีการยื่นคะแนน SAT ได้ ที่นี่
คณะเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ (EBA)
ทางด้านของ EBA (Bachelor of Arts program in Economics) หรือหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ของจุฬาฯ อินเตอร์เองก็มาแรงไม่แพ้กัน เพราะนอกจากจะมีการออกแบบมาเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ ควบคู่ไปกับเทคนิคและการประยุกต์ใช้หลักการทางเศรษฐศาสตร์ในการเชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวแล้ว ยังสามารถเลือกเรียนแบบโครงการแลกเปลี่ยนกับสถาบันชั้นนำจากทั่วโลกได้อีกด้วย ซึ่งในปีนี้ก็เปิดรับนิสิตใหม่ถึง 140 คนเลยทีเดียว
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อรอบ Early Admission ของคณะเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ (EBA)
กำลังศึกษาหรือจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า โดยมีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 2.75 ขึ้นไป
มีคะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (iBT) ไม่ต่ำกว่า 79
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 79
- CU-AAT (Verbal) ไม่ต่ำกว่า 400
- DET ไม่ต่ำกว่า 120
- SAT (Evidence-Based Reading & Writing) ไม่ต่ำกว่า 450
- ACT (English+Reading) ไม่ต่ำกว่า 31
มีคะแนนผลสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- CU-AAT ไม่ต่ำกว่า 600
- SAT (Math) ไม่ต่ำกว่า 650
- ACT (Math) ไม่ต่ำกว่า 27
- A-level (Math) ไม่ต่ำกว่า B
- IB (Math HL) ไม่ต่ำกว่า 6
โดยหากยื่นผลคะแนนสอบ SAT หรือ ACT จะต้องเป็นผลสอบที่มาจากรอบเดียวกันเท่านั้น ไม่สามารถยื่นคะแนนแบบคละรอบสอบในแต่ละพาร์ทได้
อ่านประกาศฉบับเต็มเรื่องเกณฑ์การรับสมัครนิสิตของ EBA (รอบ Early Admission) คลิก
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบสถาปัตยกรรม หลักสูตรอินเตอร์ (INDA)
สานฝันสายสถาปัตย์ด้วยหลักสูตรการออกแบบสถาปัตยกรรม ของจุฬาฯ อินเตอร์ INDA (International Program in Design and Architecture) โดยหลักสูตรนี้ก็ได้มีการจัดจ้างคณาจารย์จากหลากหลายประเทศทั่วทุกมุมโลก รวมถึงมีการจัดเวิร์กช้อปต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีมุมมองด้านสถาปัตยกรรมที่กว้างขวางและสามารถสร้างสรรค์ผลงานของตนเองออกมาได้อย่างสมบูรณ์ และสำหรับปีนี้ทาง INDA ก็เปิดรับนิสิตใหม่ถึง 80 คนด้วยกัน
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อรอบ Early Admission ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบสถาปัตยกรรม หลักสูตรอินเตอร์ (INDA)
กำลังศึกษา หรือจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
มีคะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (iBT) ไม่ต่ำกว่า 79
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 80
- CU-AAT (Verbal) ไม่ต่ำกว่า 400
- SAT (Evidence-Based Reading & Writing) ไม่ต่ำกว่า 450
มีคะแนนผลสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- CU-AAT ไม่ต่ำกว่า 550
- SAT (Math) ไม่ต่ำกว่า 570
- NCEA (Math) ไม่ต่ำกว่า Level 2 และมีผลการเรียนอย่างน้อย 4 หน่วยกิตในระดับ Merit
มีคะแนนสอบวัดความถนัดด้านการออกแบบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-TAD) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 45
อ่านประกาศฉบับเต็มเรื่องเกณฑ์การรับนิสิตของ INDA คลิก
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตรอินเตอร์ (CommDe)
อีกหนึ่งหลักสูตรอินเตอร์ของคณะสถาปัตย์จุฬาก็ได้แก่ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ หรือ CommDe (Communication Design) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านการออกแบบเพื่อการสื่อสาร หรือออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้ออกมาตอบโจทย์ผู้บริโภคในทุกแง่มุม โดยจะได้เรียนทั้งภาคทฤษฎีและการลงมือออกแบบจริงผ่านการทำโปรเจคและเวิร์กช้อปต่าง ๆ ที่คณะจัดขึ้น ซึ่งในปีนี้ทาง CommDe ได้เปิดรับนิสิตทั้งหมด 50 คน
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อรอบ Early Admission ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตรอินเตอร์ (CommDe)
กำลังศึกษา หรือจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
มีคะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (iBT) ไม่ต่ำกว่า 79
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0
- DET ไม่ต่ำกว่า 110
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 80
- CU-AAT (Verbal) ไม่ต่ำกว่า 400
- SAT (Evidence-Based Reading & Writing) ไม่ต่ำกว่า 450
มีคะแนนผลสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- CU-AAT ไม่ต่ำกว่า 450
- SAT (Math) ไม่ต่ำกว่า 490
- A-Level (Math) ไม่ต่ำกว่า B
- IB (Math) ไม่ต่ำกว่า 5
- NCEA (Math) ไม่ต่ำกว่า Level 2 และมีผลการเรียนอย่างน้อย 4 หน่วยกิตในระดับ Merit
อ่านประกาศฉบับเต็มเรื่องเกณฑ์การรับนิสิตของ CommDe คลิก
คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ (ISE)
ใครสนใจเรียนสายวิศวะ ทางจุฬาฯ อินเตอร์ก็มีการจัดตั้ง ISE (International School of Engineering) ที่ถือว่าเป็นสถาบันที่เปิดสอนในด้านวิศวกรรมศาสตร์ระดับท้อปของภูมิภาคอาเซียนเลยทีเดียว โดยในปี 2025 ที่จะถึงนี้ ทาง ISE ก็ได้เปิดตัวสาขาน้องใหม่อย่าง “SEMI” หรือ Semiconductor เพิ่มขึ้นมา ทำให้ในตอนนี้มีตัวเลือกสาขาให้เลือกเรียนกันได้ถึง 6 สาขา ดังนี้
- Automotive Design and Manufacturing Engineering (ADME) สาขาวิศวกรรมการออกแบบเครื่องกลการผลิต
- Aerospace Engineering (AERO) สาขาวิศวกรรมการบิน
- Information and Communication Engineering (ICE) สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคมการสื่อสาร
- Nano-Engineering (NANO) สาขาวิศวกรรมนาโน
- Robotics and Artificial Intelligence Engineering (RAIE) สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
- Semiconductor Engineering (SEMI) สาขาวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์
แต่สำหรับในรอบ Early Admission ทาง ISE ได้ประกาศรับสมัครนิสิตใหม่เฉพาะ 5 สาขาหลักเท่านั้น (ยังไม่มีเกณฑ์การรับสมัครของ SEMI ในรอบนี้ออกมาแต่อย่างใด) โดยน้อง ๆ สามารถเลือกยื่นสมัครเรียนได้ถึง 2 รูปแบบ ได้แก่ การยื่นคะแนนสอบ จำนวน 220 คน และการยื่น Portfolio จำนวน 25 คน
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อรอบ Early Admission ของหลักสูตร ISE (ยื่นคะแนนสอบ)
กำลังศึกษา หรือจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
มีคะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (iBT) ไม่ต่ำกว่า 80
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 80
- DET ไม่ต่ำกว่า 105
มีคะแนนผลสอบวัดความถนัดคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- CU-AAT (Math) ไม่ต่ำกว่า 480
- SAT (Math) ไม่ต่ำกว่า 620
- A-Level (Mathematic) ไม่ต่ำกว่า B
- A-Level (Mathematic) Predicted Grade ไม่ต่ำกว่า A
- IB (Mathematic) HL ไม่ต่ำกว่า 6
- ACT (Math) ไม่ต่ำกว่า 26
- AP Calculus (AB/ BC) ไม่ต่ำกว่า 4
มีคะแนนผลสอบวัดความถนัดวิทยาศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- CU-ATS ไม่ต่ำกว่า 800
- A-Level (Physics และ Chemistry) ไม่ต่ำว่า B (ในแต่ละวิชา)
- A-Level (Physics และ Chemistry) Predicted Grade ไม่ต่ำกว่า A (ในแต่ละวิชา)
- IB (Physics และ Chemistry) HL ไม่ต่ำกว่า 6 (ในแต่ละวิชา)
- ACT (Science) ไม่ต่ำกว่า 25
- AP Physics และ Chemistry (1/C) ไม่ต่ำกว่า 4 (ในแต่ละวิชา)
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อรอบ Early Admission ของ ISE (ยื่น Portfolio)
มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (รวม 5 ภาคการศึกษา หรือเทียบเท่า) ไม่ต่ำกว่า 3.25 และมีผลการเรียนเฉลี่ยในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์และเคมี) และกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือหากจบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว จะต้องยื่นผลการเรียนเฉลี่ยรวม 6 ภาคการศึกษา
มีคะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (iBT) ไม่ต่ำกว่า 80
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 80
- DET ไม่ต่ำกว่า 105
มี Portfolio ที่แสดงถึงความสามารถทางวิชาการระดับชาติ หรือนานาชาติในด้านคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รวมถึงมีทักษะด้านการทำงานเป็นทีมและทักษะที่จำเป็นอื่น ๆ ทางด้านวิศวกรรม
อ่านประกาศฉบับเต็มเรื่องเกณฑ์การรับนิสิตของ ISE และรายละเอียดในการทำ Portfolio คลิก
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมีการผลิต หลักสูตรอินเตอร์ (ChPE)
ทางด้านของ ChPE (Chemical and Process Engineering) จะเป็นหลักสูตรวิศวะ อินเตอร์ที่อยู่ในการดูแลของทางคณะวิศวกรรมเคมีโดยตรง (ไม่เกี่ยวกับทาง ISE) ซึ่งน้อง ๆ ก็ได้เรียนรู้ด้านวิศวกรรมเคมีไปพร้อม ๆ กับการเสริมความรู้ด้านพลังงานทดแทนเพื่อให้น้อง ๆ สามารถนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้และต่อยอดในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้นิสิตสามารถลงฝึกงานหรือแลกเปลี่ยนไปศึกษาต่อที่สถาบันอื่น ๆ เพื่อเก็บประสบการณ์ก่อนการลงทำงานจริงได้อีกด้วย โดยในปีนี้ทาง ChPE ก็เปิดรับนิสิตใหม่ถึง 40 คน
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อรอบ Early Admission ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมีการผลิต หลักสูตรอินเตอร์ (ChPE)
กำลังศึกษา หรือจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
มีคะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (iBT) ไม่ต่ำกว่า 80
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 80
- DET ไม่ต่ำกว่า 105
- Gaokao (English) 100
มีคะแนนผลสอบวัดความถนัดคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- CU-AAT (Math Section) ไม่ต่ำกว่า 480
- SAT (Math) ไม่ต่ำกว่า 620
- A-Level (Math/ Pure Math/ Further Math) ไม่ต่ำกว่า B
- AP Calculus (AB) ไม่ต่ำกว่า 3
- ACT (Math) ไม่ต่ำกว่า 26
- IB (Math) ไม่ต่ำกว่า 6
- Gaokao (Math) ไม่ต่ำกว่า 90
มีคะแนนผลสอบวัดความถนัดวิทยาศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- CU-ATS ไม่ต่ำกว่า 800
- A-Level (Physics และ Chemistry) ไม่ต่ำกว่า B (ในแต่ละวิชา)
- IB (Physics HL และ Chemistry HL) ไม่ต่ำกว่า 4 (ในแต่ละวิชา)
- ACT (Science) ไม่ต่ำกว่า 25
- AP Physics 1 – 2/ C-Mechanics และ AP Chemistry ไม่ต่ำกว่า 3 (ในแต่ละวิชา)
- Gaokao (Physics และ Chemistry) ไม่ต่ำกว่า 60 (ในแต่ละวิชา)
อ่านประกาศฉบับเต็มเรื่องเกณฑ์การรับนิสิตของ ChPE คลิก
คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรอินเตอร์ (BBTech)
สำหรับน้อง ๆ สายวิทย์ที่สนใจเรียนในด้านเทคโนโลยีชีวภาพก็มีหลักสูตร BBTech (Biotechnology) ที่น้อง ๆ จะได้เรียนแบบเจาะลึกทั้งเทคโนโลยีชีวภาพของพืชและสัตว์, จุลินทรีย์, สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงเทคโนโลยีชีวิภาพอาหาร, ชีวสารสนเทศศาสตร์ และการจัดการเทคโนโลยีชีวภาพ โดยจะมีการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีในห้องเรียนและการทำแลปควบคู่กันไป และในปีนี้ก็ได้เปิดรับสมัครนิสิตเป็นจำนวน 50 คน
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อรอบ Early Admission ของคณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรอินเตอร์ (BBTech)
กำลังศึกษา หรือจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
มีคะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (iBT) ไม่ต่ำกว่า 79
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 80
- CU-AAT (Verbal) ไม่ต่ำกว่า 400
- SAT (Evidence-Based Reading & Writing) ไม่ต่ำกว่า 450
มีคะแนนผลสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- CU-AAT ไม่ต่ำกว่า 450
- SAT (Math) ไม่ต่ำกว่า 550
- ACT (Math) ไม่ต่ำกว่า 25
- IB Diploma (HL Math) ไม่ต่ำกว่า 5
- GCE A-Level (Math) ไม่ต่ำกว่า B
อ่านประกาศฉบับเต็มเรื่องเกณฑ์การรับนิสิตของ BBTech คลิก
คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีประยุกต์ หลักสูตรอินเตอร์ (BSAC)
ทางฝั่งเคมีเอกก็ไม่น้อยหน้า เพราะมีการเปิดสอนในสาขาเคมีประยุกต์ BSAC (Applied Chemistry) ที่มีสาขาย่อยให้เลือกเรียนกันแบบจุใจถึง 4 รูปแบบ ดังนี้
- สาขาเคมีเพื่อการประยุกต์ด้านอุตสาหกรรมและการจัดการ (Industrial Chemistry and Management Program)
- สาขาเคมีเพื่อการประยุกต์ด้านวัสดุ (Material Chemistry Program)
- สาขาเคมีสิ่งแวดล้อม (Environment Chemistry Program)
- สาขาเคมีเครื่องสำอางและการเป็นผู้ประกอบการ (Cosmetic Chemistry and Entrepreneurship Program)
โดยทั้ง 4 สาขาก็เปิดโอกาสให้นิสิตได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ผ่านการทำโปรเจค ISSP (Interactive Science and Social Project) และการวิจัยร่วมกับสถาบันอื่น ๆ ทั่วโลก ซึ่งในรอบ Early Admission ปีนี้ได้เปิดรับนิสิตสูงสุดถึง 100 คนเลยทีเดียว
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อรอบ Early Admission ของคณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีประยุกต์ หลักสูตรอินเตอร์ (BSAC)
กำลังศึกษา หรือจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
มีคะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (iBT) ไม่ต่ำกว่า 79
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0
- DET ไม่ต่ำกว่า 110
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 80
- SAT (Evidence-Based Reading & Writing) ไม่ต่ำกว่า 500
มีคะแนนผลสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- CU-AAT ไม่ต่ำกว่า 450
- SAT (Math) ไม่ต่ำกว่า 490
มีคะแนนผลสอบวัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- ผลการเรียนเฉลี่ยนในรายวิชาเคมีหรือวิทยาศาสตร์อย่างน้อย 3 หน่วยกิต ไม่ต่ำกว่า 2.75 (ในแต่ละวิชา)
- CU-ATS (Chemistry) ไม่ต่ำกว่า 380
- AP (Chemistry) ไม่ต่ำกว่า 3
- IB (Chemistry) ไม่ต่ำกว่า 3
- AS/A-Level (Chemistry) ไม่ต่ำกว่า C
- GED (Science Subject) ไม่ต่ำกว่า 160
อ่านประกาศฉบับเต็มเรื่องเกณฑ์การรับนิสิตของ BSAC คลิก
คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหการ หลักสูตรอินเตอร์ (BISTECH)
หลักสูตรใหม่ล่าสุดสายวิทย์ที่เพิ่งเปิดตัวพร้อมเปิดรับนิสิตในปีนี้อย่าง BISTECH (Bachelor of Science in Industrial Science and Technology) เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์เชิงอุตสาหการเข้ากับเทคโนโลยีและหลักการจัดการทรัพยากรในด้านต่าง ๆ ได้อย่างลงตัว รวมถึงภายในหลักสูตรยังมีการฝึกงานภาคบังคับเพื่อให้ผู้เรียนได้นำเอาความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงอีกด้วย ซึ่งในปีนี้ที่เป็นปีแรกของการเปิดหลักสูตร BISTECH ก็ได้เปิดรับนิสิตในรอบ Early Admission ถึง 50 ที่นั่งด้วยกัน
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อรอบ Early Admission ของคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหการ หลักสูตรอินเตอร์ (BISTECH)
กำลังศึกษา หรือจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
มีคะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (iBT) ไม่ต่ำกว่า 79
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0
- DET ไม่ต่ำกว่า 110
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 80
- CU-AAT (Verbal) ไม่ต่ำกว่า 400
- SAT (Evidence-Based Reading & Writing) ไม่ต่ำกว่า 450
- Gaokao (English) ไม่ต่ำกว่า 105
มีคะแนนผลสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- CU-AAT ไม่ต่ำกว่า 450
- SAT (Math) ไม่ต่ำกว่า 550
- ACT (Math) ไม่ต่ำกว่า 25
- IB Diploma (HL Math) ไม่ต่ำกว่า 5
- GCE A-Level (Math) ไม่ต่ำกว่า B
- Gaokao (Math) ไม่ต่ำกว่า 70
มีคะแนนผลสอบวัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- ผลการเรียนเฉลี่ยนในรายวิชาเคมีหรือวิทยาศาสตร์อย่างน้อย 3 หน่วยกิต ไม่ต่ำกว่า 2.75 (ในแต่ละวิชา)
- CU-ATS (Chemistry/ Physics) ไม่ต่ำกว่า 380
- AP (Chemistry/ Physics) ไม่ต่ำกว่า 3
- GCE A-Level (Chemistry/ Physics) ไม่ต่ำกว่า C
- GED (Science Subject) ไม่ต่ำกว่า 165
อ่านประกาศฉบับเต็มเรื่องเกณฑ์การรับนิสิตของ BISTECH คลิก
เตรียมความพร้อมก่อนยื่นคะแนนรอบ Early Admission เข้าคณะจุฬาฯ อินเตอร์
มาถึงตรงนี้น้อง ๆ น่าจะมีไอเดียกันบ้างแล้วว่าถ้าอยากเข้าจุฬาฯ อินเตอร์ตั้งแต่ในรอบ Early Admission จะต้องเตรียมตัวอย่างไรและเตรียมคะแนนอะไรบ้าง ซึ่งถ้าน้องคนไหนมีคะแนนในมือพร้อมแล้วก็สามารถยื่นสมัครได้เลย แต่สำหรับใครที่ยังไม่มีคะแนน โดยเฉพาะคะแนนวัดระดับภาษา ทางพี่กริฟฟินก็ขอแนะนำให้รีบลงติวเอาไว้ก่อนยื่นรอบ Admission ในครั้งถัดไป เพราะถึงแม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นรอบ Admission แต่การเรียนในหลักสูตรอินเตอร์ส่วนใหญ่ก็มักจะมีการขอผลคะแนนภาษาอังกฤษและผลความถนัดด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย แต่หากเตรียมความพร้อมลงติวเข้มกับ House of Griffin สถาบันติวสอบที่มีประสบการณ์กว่า 14 ปี ไม่ว่าจะอยากเข้าคณะไหนก็มี่คอร์สติวเข้มแบบเน้น ๆ ยื่นคะแนนสอบแบบผ่านฉลุยแน่นอน