
การสอบ BMAT คือ อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับน้อง ๆ ในการสอบเข้าแพทย์โดยไม่ต้องสอบ กสพท ก็คือการใช้คะแนน BMAT (BioMedical Admission Test) ในการยื่นใน TCAS รอบ Portfolio นั่นเอง ซึ่งข้อสอบ BMAT นี้เป็นข้อสอบสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะเข้าศึกษาต่อในกลุ่มหลักสูตรวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรนานาชาติทั้งในและต่างประเทศจัดขึ้นโดย Cambridge Assessment Admissions Testing
BMAT สอบอะไรบ้าง

BMAT มีข้อสอบทั้งหมด 3 ส่วน โดยใช้เวลาสอบทั้งสิ้น 2 ชั่วโมง
Section 1: Thinking Skills เชาว์ปัญญาและทักษะที่จำเป็น
ใช้เวลาสอบ 1 ชั่วโมง เป็นข้อสอบปรนัย (multiple choice) 32 ข้อ โดยตัวเลือกคำตอบแต่ละข้อไม่เท่ากัน ในส่วนนี้จะทดสอบเชาวน์ปัญญาในการแก้ปัญหา ทักษะความเข้าใจบทความต่าง ๆ และทักษะการคิดวิเคราะห์เชื่อมโยง โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ โดยคะแนนดิบในพาร์ทนี้อยู่ที่ 32 คะแนนและแบ่ง Band ออกเป็น 0-9 น้อง ๆ ควรทำพาร์ทนี้ให้ได้ประมาณ 21/32 ซึ่งจะได้ประมาณ Band 6
- Problem Solving (16 ข้อ)
- Critical Thinking (16 ข้อ)

Section 2: Scientific Knowledge and Applications
ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการประยุกต์ใช้ ใช้เวลาสอบ 30 นาที เป็นข้อสอบปรนัย (multiple choice) 27 ข้อ
โดยเนื้อหาในการสอบครอบคลุมรายวิชาวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) และคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตร IGCSE ของสหราชอาณาจักร ข้อสอบจะวัดการนำความรู้และทฤษฎีด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้
ประกอบไปด้วย 4 วิชา โดยคะแนนดิบในพาร์ทนี้อยู่ที่ 27 คะแนนและแบ่ง Band ออกเป็น 0-9 น้อง ๆ ควรทำพาร์ทนี้ให้ได้ประมาณ 18/27 ซึ่งจะได้ประมาณ Band 6
- Mathematics (6 ข้อ)
- Biology (7 ข้อ)
- Chemistry (7 ข้อ)
- Physics (7 ข้อ)

Section 3: Writing Task ความสามารถด้านภาษา
ใช้เวลาสอบ 30 นาที เป็นข้อสอบอัตนัย (essay) โดยผู้เข้าสอบต้องเลือกเขียนเรื่อง 1 เรื่อง (จากที่กำหนดให้ 3 เรื่อง) ความยาวประมาณ 300 คำ ในการประเมินเกณฑ์คะแนน ส่วนแรกนั้นจะวัดเรื่องการแสดงความคิดเห็น การวิเคราะห์ และความสมเหตุสมผล สำหรับส่วนที่สองนั้นการทดสอบจะวัดเรื่องการใช้ไวยากรณ์ การเลือกใช้คำศัพท์ การใช้เครื่องหมายต่างๆ และการเรียบเรียงประโยคให้สัมพันธ์กัน โดยคะแนนจะออกมาเป็น 2 ส่วนเช่น 5A หมายถึง perfect score
- Quality of Content (0-5)
- Quality of Writing (A-E)

มหาวิทยาลัยที่รับคะแนน BMAT มีที่ไหนบ้าง

มหาวิทยาลัยของไทยที่ใช้คะแนน BMAT รอบ พฤศจิกายน 2564
- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
- คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหิดล
- คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
- CICM วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์และคณะทันตแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
- คณะแพทยศาสตร์ สจล.
- โครงการผลิตแพทย์ร่วม คณะแพทยศาสตร์ มศว และ ม.นอตติงแฮม สหราชอาณาจักร
- สำนักวิชาแพทยศาสตร์ สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มทส.
- คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ม.นวมินทราธิราช
- MIDS คณะทันตแพทยศาสตร์ มหิดล
- คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.ขอนแก่น
ตรวจสอบได้ที่ https://www.admissionstesting.org/campaigns/bmat-thailand/
ปฏิทินการสอบ BMAT
ตารางสอบ BMAT ในทุกๆ ปีนั้นจะเปิดสอบ 2 รอบในช่วงปลายปี โดยในรอบแรกจะเป็นช่วงเดือนกันยายนและรอบสองจะเป็นช่วงเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน ทั้งนี้ตารางอาจมีการเปลี่ยนแปลงสามารถติดตามการอัพเดทวันสอบได้ที่ House of Griffin ค่ะ สำหรับการสอบนั้นน้อง ๆ จะสามารถเลือกได้เพียง 1 ครั้งต่อปีเท่านั้นซึ่งต้องเช็คกับทางมหาวิทยาลัยว่าประกาศรับคะแนน BMAT จากรอบไหน

Step to become a doctor & Admission Requirements
สำหรับน้อง ๆ ที่มีเป้าหมายในการเข้าศึกษาต่อในสายแพทย์นั้น กริฟฟินแนะนำให้เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากการยื่นคะแนนในรอบ Portfolio นั้นจำเป็นต้องใช้คะแนนจากหลาย ๆ ส่วนด้วยกันดังนี้
- GPA ควรเก็บผลการเรียนให้ได้ 3.0-3.5 ขึ้นไป
- คะแนน BMAT ควรทำได้ 12c ขึ้นไป เนื่องจาก BMAT นั้นไม่ได้มีคะแนนไม่ผ่าน ดังนั้นเมื่อน้อง ๆ ยื่นคะแนนเข้าไปทางมหาวิทยาลัยจะนำไปพิจารณาอีกที
- คะแนนภาษาอังกฤษ เช่น IELTS และ SAT Subject Test ซึ่งจากข้อมูลอัพเดทในปี 2021 SAT Subject Test ได้ถูกยกเลิกการสอบไปแล้ว ดังนั้นต้องติดตามข้อมูลที่เราจะมาแจ้งให้ทราบว่าเกณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในปี 2021-2022
- Portfolio หรือผลงานและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับจิตอาสาหรือการฝึกงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง

