Skip to content

ต้องการสอบเทียบ GED หลักสูตรการศึกษาระบบอเมริกัน ควรเริ่มต้นอย่างไร ? 

ต้องการสอบเทียบ GED

หากใครกำลังวางแผนจะเตรียมตัวสอบเทียบ GED เพื่อนำวุฒิไปใช้ต่อยอดการศึกษาในอนาคต แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรและอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมแบบเจาะลึกมากขึ้นก่อนตัดสินใจ ทาง House of Griffin ได้รวมข้อมูลที่ต้องรู้ที่น่าสนใจมาไว้ในบทความนี้ พร้อมวิธีการเริ่มต้นเตรียมตัวสอบ GED ให้ผ่านได้ง่าย ๆ ภายใน 2 เดือนมาฝากกันค่ะ

ทำความรู้จักก่อน GED คือ อะไร ? 

General Educational Development หรือ GED คือ การสอบเทียบวุฒิการศึกษาระบบอเมริกันที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก รวมถึงทางรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยก็ได้ให้การรับรองว่าวุฒิ GED สามารถเทียบเท่าได้กับวุฒิการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าการจบ ม.6 น้อง ๆ จึงสามารถ GED นี้ไปยื่นสมัครเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาตรีได้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสอบ GED คือ อะไร ? คลิก

การสอบ GED เหมาะกับใคร ?

วุฒิ GED เป็นวุฒิที่เปิดโอกาสให้กับทุก ๆ คนที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไปสามารถทำการสอบเทียบวุฒิได้โดยไม่มีการกำหนดอายุสูงสุดของผู้สมัครสอบ จึงเหมาะกับ “ทุกคน” ที่ต้องการวุฒิการศึกษาในระดับเทียบเท่ามัธยมปลาย โดยการสอบ GED นั้นได้รับความนิยมทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมถึงมีคนดังมากมายที่คว้าวุฒิ GED ได้สำเร็จ 

  • ใครที่ต้องการใช้วุฒิ GED เป็นทางลัดเข้าเรียนมหาวิทยาลัยก่อนเกณฑ์
  • ใครที่เรียนโฮมสคูลตั้งแต่เด็ก และต้องการสอบเทียบงวุฒิเพื่อกลับเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในระบบปกติ
  • ไอดอล, นักแสดง, นักกีฬา, นักดนตรี ที่ไม่มีเวลาเรียนในระบบ เพราะมุ่งทำตามเป้าหมายของตัวเองในช่วงโอกาสทองของชีวิตที่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับโอกาสนี้
  • น้อง ๆ ที่มีปัญหาด้านสุขภาพทำให้ต้องหยุดเรียนเป็นระยะเวลานาน แต่อยากกลับเข้ามาเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยพร้อมกับเพื่อน ๆ รุ่นเดียวกัน
  • การเรียนในระบบไม่ตอบโจทย์ 
  • บุคคลทั่วไปที่ต้องการใช้วุฒิมัธยมปลายในการสมัครงาน

สอบเทียบ GED เหมาะกับใครบ้าง ?

GED สอบอะไรบ้าง ?

การสอบเทียบ GED จะเป็นข้อสอบ “ภาษาอังกฤษ” ที่มีข้อสอบทั้งในรูปแบบปรนัย (เลือกตอบ) และอัตนัย (เขียนตอบ) กำหนดเวลาการสอบทั้งหมด 7 ชั่วโมง มีการสอบทั้งหมด 4 รายวิชา (วิชาละ 200 คะแนน) ได้แก่ ภาษาอังกฤษ (RLA), คณิตศาสตร์ (Mathematic), วิทยาศาสตร์ (Science) และสังคมศาสตร์ (Social Studies)

Reasoning Through Language Arts (RLA) วัดทักษะด้านการใช้เหตุผลในรูปแบบ Reading และ Writing วัดความรู้ด้านการอ่านจับใจความ, การใช้งานแกรมมาร์พื้นฐาน และทักษะการเขียน Argumentative Passage กำหนดเวลาการสอบ 150 นาที

สำหรับข้อสอบ RLA House of Griffin ก็มี ตัวอย่างข้อสอบ RLA พร้อม 5 เทคนิคพิชิตข้อสอบ RLA มาฝากกันด้วย

Mathematical Reasoning วัดทักษะด้านการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ วัดระดับความรู้ด้านคณิตศาสตร์ทั่วไป, เรขาคณิต และพีชคณิต โดยจะมีทั้งส่วนที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลข กำหนดเวลาการสอบ 115 นาที

น้อง ๆ สามารถดู ตัวอย่างข้อสอบ GED Math พร้อม 4 เทคนิคพิชิต GED Math และ 10 ก่อนสอบ Checklist GED Math เพื่อเพิ่มความมั่นใจก่อนสอบกันได้เลย

Science วัดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, ดาราศาสตร์ และการทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ กำหนดเวลาการสอบ 90 นาที

โดยพี่ House of Griffin ก็ได้เอา ตัวอย่างข้อสอบ GED Science มาฝากกันเช่นเคย

Social Studies วัดความรู้ด้านสังคมศาสตร์ การเมืองและการปกครอง ไปจนถึงประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ของ “ประเทศสหรัฐอเมริกา” เป็นหลัก กำหนดเวลาการสอบ 70 นาที

ลองดู เทคนิคเตรียมสอบ GED Social และ ตัวอย่างข้อสอบ GED Social ก่อนเริ่มติวได้เลย

วุฒิ GED เข้าเรียนที่ไหนได้บ้าง ?

ผู้ที่มีวุฒิ GED สามารถยื่นสมัครเข้าเรียนได้ในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศไทยทั้งมหาวิทยาลัยรัฐบาลและเอกชน ไม่ว่าจะเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, มศว (มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร, สถาบันเทคโนโลยีกระจอมเกล้าฯ (ทั้ง 3 แห่ง), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมไปถึงมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั่วประเทศไทย หลากหลายหลักสูตร ทั้งหลักสูตร สายวิทย์ และสายศิลป์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะรับน้อง ๆ ที่มีคะแนน GED ตั้งแต่ 145 คะแนนขึ้นไปในทุกรายวิชา แต่บางคณะก็อาจเรียกคะแนนสูงกว่านั้น และมีการเรียกขอคะแนนความถนัดอื่น ๆ ควบคู่กันไป (แนะนำให้ตรวจสอบเกณฑ์การรับเข้าศึกษาของทางมหาวิทยาลัยอย่างละเอียดก่อนการสมัคร)

น้อง ๆ สามารถอ่าน คู่มือเตรียมเข้ามหาวิทยาลัยด้วยวุฒิ GED หรือดูตัวอย่างหลักสูตรของ 3 มหาวิทยาลัยชื่อดังที่สามารถใช้วุฒิ GED ยื่นสมัครเรียนต่อได้ด้านล่างนี้เลย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU)

  • คณะอักษรศาสตร์ (BALAC)
  • คณะบริหารธุรกิจ (BBA)
  • คณะจิตวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์จิตวิทยา (JIPP)
  • คณะนิติศาสตร์ (LLBel)
  • คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา (PGS)
  • สถาบันวัตกรรมบูรณาการ (Bascii)
  • คณะนิเทศศาสตร์ (BCM/ CommArts)
  • คณะเศรษฐศาสตร์ (EBA)
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม (INDA)
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ (CommDe)
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ISE)
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมี (ChPE)
  • คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (BBTech)
  • คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีประยุกต์ (BSAC)
  • คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหการ (BISTech)

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU)

  • คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองและการระหว่างประเทศ (BIR)
  • คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สาขาวิชานโยบายสังคมและการพัฒนา (SPD) 
  • คณะบริหารธุรกิจ (BBA)
  • คณะเศรษฐศาสตร์ (BE)
  • คณะนิติศาสตร์ (LL.B.)
  • คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาอังกฤษ-อเมริกันศึกษา (BAS) 
  • คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการสื่อสารเชิงธุรกิจ (BC) 
  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาวิชาสื่อศึกษา (BJM) 
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง (UDDI)
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง สาขาวิชาการจัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยี (DBTM)
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ (TEP/TEPE)
  • สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินทร (SIIT)
  • วิทยาลัยนวัตกรรม สาขาวิชานวัตกรรมการบริการ (BSI) 
  • วิทยาลัยสหวิทยาการ สาขาวิชาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ (PPE) 
  • วิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์ สาขาวิชาไทยศึกษา และสาขาวิชาจีนศึกษา (PBIC) 
  • วิทยาลัยโลกศึกษา สาขาวชาโลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม (GSSE) 
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ (CICM)

มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC)

  • หลักสูตรบริหารธุรกิจ (B.B.A.)
  • หลักสูตรการจัดการท่องเที่ยวและบริการ (THM)
  • หลักสูตรศิลปศาสตร์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ (B.F.A)
  • หลักสูตรศิลปศาสตร์ สาขาสื่อและการสื่อสาร (B.Com.Arts.)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตร์ (B.Sc.)
  • หลักสูตรเทคโนโลยีสร้างสรรค์ (B.A.Sc.)
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (B.Eng)
  • หลักสูตรศิลปศาสตร์ สาขาวัฒนธรรมนานาชาติและภาษา (ICIC)
  • หลักสูตรความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกิจการทั่วโลก (IRGA)

อยากสอบเทียบ GED เริ่มอย่างไรดี ?

ขั้นแรกที่สำคัญก่อนการเริ่มเตรียมตัวสอบ GED คือ การพัฒนาภาษาอังกฤษให้พร้อม เพราะข้อสอบ GED เป็นการสอบภาษาอังกฤษทั้งหมด จึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในภาษาอังกฤษมากในระดับหนึ่งจึงจะสามารถทำความเข้าใจโจทย์ได้เพื่อเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดและตอบคำถามได้อย่างตรงจุดนั่นเอง หากเริ่มมั่นใจในทักษะภาษาอังกฤษของตัวเองแล้ว ก็สามารถหยิบเอาข้อสอบ GED ของปีเก่า ๆ มาดูเป็นแนวทางเพื่อศึกษาลักษณะข้อสอบและวิธีการตอบข้อสอบอย่างละเอียด จากนั้นลงมือทำข้อสอบเก่าโดยจับเวลาเหมือนการสอบจริงเพื่อฝึกการบริหารจัดการเวลาขณะสอบได้เลย

เมื่อเตรียมตัวสอบได้ระยะหนึ่งแล้วและทำข้อสอบได้ในระดับที่น่าพอใจก็เริ่มสร้าง GED ID และสมัครสอบ GED Ready ให้ผ่านทุกรายวิชา (145 คะแนนขึ้นไป) เนื่องจากระบบจะบังคับให้ผู้ที่ต้องการสอบเทียบวุฒิ GED ทุกคนผ่านการสอบ GED Ready เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนสอบจริงก่อน เพราะข้อสอบ GED Ready นั้นมีความคล้ายคลึงกับข้อสอบ GED ตัวจริง เพียงแค่มีจำนวนข้อที่น้อยกว่า ถือว่าเป็นการเตรียมตัวสอบจริงไปในตัว (สามารถดูวิธีการสมัครสอบ GED Ready ได้ ที่นี่)

เมื่อสอบ GED Ready ผ่านครบทุกรายวิชาเรียบร้อย ถัดมาก็ลงทะเบียนสอบ GED จริงกันได้อย่างมั่นใจแล้ว โดยน้อง ๆ สามารถดูวิธีการสมัครสอบ GED แบบละเอียด พร้อมพิกัดสนามสอบ GED ทั่วไทยได้ ที่นี่

หลักจากสอบ GED ผ่านเรียบร้อยก็จะได้รับ E-Diploma (วุฒิ) และ E-Transcript (ผลคะแนนสอบ) ที่สามารถทำเรื่อง ขอเทียบวุฒิ GED และ แปลงคะแนน GED เป็น GPAX เพื่อทำไปสมัครเรียนต่อในระบบ TCAS และ Admission ได้แล้ว แต่สำหรับใครที่สอบ GED ผ่านแล้วแต่อยากลงสอบใหม่เพื่อ Rescore คะแนน ก็สามารถดูวิธีการขอสอบใหม่ได้ ที่นี่ เลย

ติวสอบ GED House of Griffin ทางลัดคว้าวุฒิ GED ภายใน 2 เดือน

จากวิธีการแนะนำข้างต้น สำหรับใครที่ไม่มั่นใจในการเตรียมสอบ GED ด้วยตัวเอง หรือต้องการการรันตีสอบผ่าน ได้วุฒิ GED ภายในระยะเวลาเพียง 2 เดือน สามารถลง ติวสอบ GED กับ House of Griffin สถาบันติวสอบ GED อันดับ 1 ในประเทศไทยที่ผ่านการรับรองอย่างเป็นทางการให้เป็น Authorized GED Test Prep Provider แห่งแรกในประเทศไทยและในเอเชีย การันตีคุณภาพเน้น ๆ ด้วยประสบการณ์กว่า 14 ปี ดูแลนักเรียนมาแล้วกว่า 5,000 คน โดยคอร์สติวสอบ GED ของ House of Griffin นอกจากจะมีการติวเข้มตะลุยโจทย์ข้อสอบเก่าแล้ว ยังมีการประเมินการเรียนอย่างละเอียดจากผู้สอน และทีมวิชาการคอยวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนแบบรายบุคคลอีกด้วย นอกจากนี้ คอร์สติวสอบ GED ของ House of Griffin ยังมีให้เลือกเรียนทั้งรูปแบบคลาสเรียนทั้งแบบ Online และแบบ On-site (การันตีสอบผ่าน เรียนซ้ำฟรี) โดยสามารถดูรายละเอียดคอร์สติวสอบ GED ได้ ที่นี่

Share this article