Skip to content

เก็งข้อสอบ SAT Math 2022 (Part 2)

โดย ครูไอซ์

SAT MATH

เก็งข้อสอบ SAT Math ปี 2022 ออกชัวร์ ๆ มาดูกัน จากครั้งที่แล้วเราได้เจอกับแนวโจทย์ในกลุ่มที่ออกทุกรอบกันไปแล้วนะครับ คราวนี้พี่กริฟฟินจะพาน้อง ๆ ไปเจอกับแนวโจทย์กลุ่มที่สอง นั่นก็คือ “เจอโดยส่วนใหญ่ มีหายไปแค่ให้พอคิดถึง”

เก็งข้อสอบ SAT Math เจอโดยส่วนใหญ่ มีหายไปแค่ให้พอคิดถึง

แนวโจทย์กลุ่มที่ 2 นี้ จะเป็นแนวโจทย์ที่ออกในอัตราส่วนมากกว่า 75% ขึ้นไปนะครับ เรียกได้ว่าเจอบ่อยไม่แพ้กลุ่มแรกเลย มีอยู่ทั้งหมด 7 แนวด้วยกัน ดังนี้

มาลองดูตัวอย่างโจทย์ทั้ง 7 แบบกันดีกว่าครับจะได้เห็นภาพมากขึ้น มาเริ่มที่แบบแรกกันเลย 

แนวที่ 1 : Linear function (Linear equation in two variable) : Create linear function to model a relationship between two quantity 

ว่ากันง่าย ๆ มันก็คือแนวโจทย์ที่ตัวโจทย์จะเล่าเรื่องอะไรก็ได้มาก่อนครับ จากนั้นก็จะให้เราสร้างสมการที่อธิบายเรื่องที่โจทย์เล่ามานั่นเอง วิธีการสังเกตว่าโจทย์ที่เราเจอเป็นแบบนี้หรือไม่ ไม่ยากครับ น้อง ๆ สามารถดูจากลักษณะของข้อสอบได้เลย ตัวโจทย์จะให้มีตัวหนังสือเยอะ ๆ แล้วใน Choice จะเป็นสมการครับ ถ้าเจอแบบนี้ก็จะรู้ได้ทันที คราวนี้สิ่งที่ต้องทำก่อนเลยคือ ดูว่าตัวแปรในโจทย์มีตัวอะไรบ้าง และแต่ละตัวหมายถึงอะไรในโจทย์ ซึ่งโจทย์จะบอกมาอยู่แล้วครับ ส่วนใหญ่จะอยู่ท้าย ๆ ของโจทย์นั่นแหละ มาดูตัวอย่างโจทย์กันครับ

มาดูกันอีกสักตัวอย่างหนึ่งครับ

พอจะเห็นแล้วนะครับว่าโจทย์มันมีลักษณะที่ใช้สังเกตได้เลย ถ้าน้อง ๆ ทำโจทย์เยอะ ๆ บางที่ยังไม่ต้องอ่านโจทย์ก็พอจะรู้แล้วครับว่าโจทย์ข้อนี้ให้ทำอะไร และก็จะสามารถทำโจทย์ได้เร็วขึ้นครับ

แนวที่ 2 : Linear function (Linear equation in two variable)

มาถึงแบบที่สองกันครับ กับแนวที่มีชื่อว่า Linear function (Linear equation in two variable) : For linear function that represent a context, interpret the meaning of an input/output pair, constant, variable, factor, or term based on context, including situations where seeing structure provides an advantage อื้อหือออออออออ ยาวเกิ๊นนนนนนนน !!! แต่ก็คือชื่อจริง ๆ ของมันล่ะครับ แต่เรามาพูดให้เข้าใจง่าย ๆ กันดีกว่า โจทย์แนวนี้คือแนวที่จะให้เราหาความหมายของตัวเลขต่าง ๆ ที่อยู่ในสมการเส้นตรงนั่นเองครับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะให้เราหาความหมายของ Slope และ y-intercept มาลองดูตัวอย่างกันครับ

แนวที่ 3 : Percentages : Use percentages to solve problems in a variety of context

แนวโจทย์ต่อมาคือ Percentages : Use percentages to solve problems in a variety of context ถือเป็นแนวโจทย์ที่ค่อนข้างกว้างมาก ๆ เพราะโจทย์อะไรที่มีเรื่อง Percent ปนอยู่ ก็นับเป็นแนวนี้หมดเลย ดังนั้นโจทย์จึงพูดถึงเรื่องอะไรก็ได้ ให้ข้อมูลมาในรูปแบบไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น ตาราง, กราฟ หรือมาในรูปแบบของตัวหนังสือทั่วไปก็ได้ แต่ก็ไม่ถึงกับไม่มีหลักในการคิดเลยนะครับ ซึ่งหลักในการคิดก็คือพยายามมองให้จำนวนเริ่มต้น, จำนวนทั้งหมด หรือจำนวนที่ถูกเปรียบเทียบเป็น 100% จากนั้นโจทย์มันจะให้ Percent เพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ไปเพิ่มขึ้นหรือลดลงจาก 100% ที่เราตั้งไว้ได้เลย ก็จะทำให้การสร้างสมการเพื่อหาคำตอบได้ง่ายขึ้นครับ มาลองดูตัวอย่างกันครับ

แนวที่ 4 : Probability : Compute and interpret probability and conditional probability in context

แนวที่ 4 ชัดเจนตรงไปตรงมามาก ๆ ชัดแบบตะโกน กับแนว Probability : Compute and interpret probability and conditional probability in context ทำไมพี่กริฟฟินถึงบอกว่าเป็นแนวที่ชัดเจนและตรงไปตรงมา เพราะส่วนใหญ่เลยครับ โจทย์แนวนี้แทบทุกข้อจะมีคำว่า Probability อยู่ในโจทย์ด้วย คือมองผ่าน ๆ เหมือนเวลาคนที่เราแอบชอบมองเรานั่นแหละ (หยอก ๆๆๆๆๆ ไม่ร้องนะ) แค่มองผ่าน ๆ ก็รู้แล้วครับว่าเป็นแนวนี้แน่นอน มาดูตัวอย่างโจทย์กันครับ

แนวที่ 5 : Quadratic Equation : Solve quadratic equations in one variable presented in a wide variety of form

ใครยังไหวมาต่อกันครับกับแนวที่ 5 ซึ่งถือว่าเป็นแนวแจกคะแนนอีกแนวนึงเลยนั่นก็คือ Quadratic Equation : Solve quadratic equations in one variable presented in a wide variety of form หรือการแก้สมการกำลังสองนั่นเองครับ ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายวิธีเลยแล้วแต่ความถนัดของน้อง ๆ จะแยก Factor หรือจะใช้ Quadratic Formula ก็ตามแต่สะดวกเลยครับ หรือในบางรอบสอบแนวนี้ไปโผล่อยู่ใน Section 4 ก็มีนะครับ กดเครื่องคิดเลขสิครับรออะไร หากใครยังกดไม่เป็น เดี๋ยวโอกาสหน้าพี่กริฟฟินจะมาสอนนะ มาดูตัวอย่างโจทย์กันครับ

ทั้งสองข้อนี้มาจาก Section 4 ทั้งหมดเลยนะครับ แปลว่ากดเครื่องคิดเลขได้เลย แจกคะแนนเห็น ๆ เลยครับ

แนวที่ 6 : Radical Equation : Solve radical equation in one variable

แนวที่ 6 กันแล้วครับ Radical Equation : Solve radical equation in one variable แนวนี้พอเห็นโจทย์อาจจะคิดว่ายากหรือต้องใช้เวลาในการทำนานนะครับ แต่จริง ๆ แล้วมันมี Trick ในการทำอยู่ เพราะแค่แทน Choice ลงไปก็ได้คำตอบแล้วครับ เพียงแต่น้อง ๆ ต้องรู้ Concept สองอย่างนี้ก่อน คือ

1. น้อง ๆ ต้องทำให้โจทย์อยู่ในหน้าตา ∎=∆ แบบนี้ก่อน

2. Choice ที่จะเป็นคำตอบต้องไม่ทำให้ ∎ ติดลบ และต้องไม่ทำให้ ∆ ติดลบด้วย มาลองดูตัวอย่างกันครับ

แนวที่ 7 : Exponential function : Identify or create an appropriate function to model a relationship between quantities

มาถึงแนวสุดท้ายกันแล้วครับ กับแนวที่มีชื่อว่า Exponential function : Identify or create an appropriate function to model a relationship between quantities เราสร้างสมการกันมาหลายแบบ เพิ่มอีกซักแบบจะเป็นไรกับ Exponential Function สมการที่มีรูปแบบค่อนข้างตายตัวเลยเมื่อเจอในข้อสอบ SAT Math นั่นคือ y=abx โดย a คือค่าเริ่มต้น b คืออัตราการเปลี่ยนแปลง และ x โดยส่วนมากจะหมายถึงเวลา

จากแนวข้อสอบ 7 แนวที่พูดถึงมาทั้งหมด รวมกับอีก 4 แนวก่อนหน้านี้ เฉลี่ยแล้วจะมีข้อสอบที่ออกทั้งหมด 18 ข้อแล้วครับ จะเห็นว่าถ้าเราวิเคราะห์ข้อสอบดู เราจะเตรียมตัวได้ตรงจุดมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้ก็มีโอกาสจะเป็นไปตามที่หวังมากขึ้นนั่นเองครับ ในครั้งต่อไปพี่จะพาไปเจอกับแนวโจทย์กลุ่มสุดท้ายที่ถือเป็นดาวรุ่ง ที่มาบ่อย ๆ ในช่วงปีที่แล้ว คอยติดตามกันนะครับว่าจะมีแนวไหนบ้าง แล้วพบกันครับ

 

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

Share this article