โดย ครูไอซ์

เราได้เจอกับแนวข้อสอบที่ออกกันบ่อย ๆ ไปแล้วนะครับ คราวนี้เรามาดูแนวโจทย์ที่ถือว่าเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงกันบ้างดีกว่า ปีก่อน ๆ ไม่รู้ไปอยู่ไหนมา แต่ปีที่แล้วมาแทบทุกรอบ พี่คัดเด่น ๆ มาให้เลย 3 แนว ได้แก่
-
- Linear and exponential growth/decay
-
- Rewriting expressions with rational exponents and radicals
-
- Solve problems using the relationship between sine and cosine of complementary angles
เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา มาดูตัวอย่างข้อสอบกันทีละแนวเลยดีกว่าครับ
Linear and exponential growth/decay
มาเริ่มกันที่แนวแรกที่แสนจะง่ายยยยยยยยยยย ไม่ต้องตั้งสมการหรือคิดเลขอะไรเลยครับ ดูแค่ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขก็จะสามารถตอบได้แล้ว ยังไงมาดูตัวอย่างกันครับ

ทคนิคง่าย ๆ สำหรับการทำโจทย์ข้อนี้ก็คือ เข้าใจความหมายของ Choice ก่อนเลยครับ ให้น้อง ๆ จำง่าย ๆ ว่า Linear คือ “คงที่” ส่วน Exponential คือ “ไม่คงที่” เพราะฉะนั้น
Increasing linear ก็หมายถึง “การเพิ่มขึ้นอย่างคงที่”
Decreasing linear ก็หมายถึง “การลดลงอย่างคงที่”
Increasing exponential ก็หมายถึง “การเพิ่มขึ้นอย่างไม่คงที่”
Decreasing exponential ก็หมายถึง “การลดลงอย่างไม่คงที่”
ที่นี้เมื่อเราก็จะมาดูข้อมูลที่โจทย์ให้มากันบ้าง โจทย์ข้อนี้บอกว่า ลูกวัวจะมีน้ำหนักตัว 62 ปอนด์ตอนเกิดและน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ วันละ 2 ปอนด์ตลอดช่วงสองปีแรก โจทย์ถามว่าความฟังก์ชันระหว่างน้ำหนักของลูกวัวกับเวลาเป็นประเภทไหน?

หากเรานำข้อมูลมาเขียนในแบบตารางข้าง ๆ ก็จะเห็นภาพชัดเจนขึ้นครับว่าข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะไหน ซึ่งจะสังเกตว่า เมื่อจำนวนวันเพิ่มขึ้น 1 วัน น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น 2 ปอนด์ไปเรื่อย ๆ ซึ่งตรงตาม Concept “การเพิ่มขึ้นอย่างคงที่” ทำให้ข้อนี้ตอบ A) ครับ
Rewriting expressions with rational exponents and radicals
Solve problems using the relationship between sine and cosine of complementary angles
ทั้งหมดคือบางส่วนของแนวข้อสอบที่ถือเป็น Rising Star ของปี 2021 เลย ไม่แน่ว่าอาจจะโผล่มาอีกในปี 2022 นี้ก็เป็นได้ครับ ใกล้สอบกันแล้วอย่าลืมเตรียมความพร้อมทั้งความรู้ ร่างกาย และจิตใจกันด้วย เพื่อเป้าหมายที่ทุกคนตั้งใจไว้ พี่กริฟฟินเป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ แล้วพบกันใหม่ครับ
อ่านบทความอื่นๆ