
“วิศวกรรมการบิน” หรือ “วิศวะการบิน” ที่เราคุ้นเคยเป็นหลักสูตรที่ได้รับความนิยมและเป็นความใฝ่ฝันของนักเรียนจำนวนมาก วันนี้ House of Griffin จะพาน้อง ๆ ที่สนใจเรียนคณะนี้มาทำความรู้จักหลักสูตรวิศวกรรมการบินของสองสถาบันชั้นนำ อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อให้น้อง ๆ สามารถเปรียบเทียบและเลือกหลักสูตรที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวเอง
วิศวะการบินอินเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับวิศวะการบินอินเตอร์ที่จุฬาจะใช้ชื่อหลักสูตรว่า “วิศวกรรมอากาศยาน” อยู่ในสังกัดของ ISE (International School of Engineering) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็น 1 ใน 5 สถาบันด้านวิศวกรรมศาสตร์ชั้นนำในภูมิภาคอาเซียนอาเซียน อีกทั้งหลักสูตรวิศวะการบินของจุฬาฯ นี้เกิดขึ้นจากการสนับสนุนของกองทัพอากาศไทย จึงทำให้เป็นหลักสูตรที่มีความเข้มข้นของเนื้อหาเป็นอย่างมาก โดยรายวิชาที่เปิดสอนจะเน้นไปที่การทำความเข้าใจโครงสร้างของเครื่องบิน การซ่อมแซม การบำรุงรักษาเครื่องบิน กลไกภายในระบบการบิน ตลอดจนการออกแบบเครื่องบินเป็นหลัก
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อของวิศวะการบินอินเตอร์ จุฬาฯ
จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ระบบการศึกษาไทย) หรือเทียบเท่า Year 13 (ระบบการศึกษาอังกฤษ) หรือ Grade 12 (ระบบการศึกษาสหรัฐอเมริกา) โดยมีผลการศึกษาผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำและมีผลการทดสอบวัดระดับความถนัด ดังนี้
รอบการรับสมัครนักศึกษาของวิศวะการบินอินเตอร์ จุฬาฯ
วิศวะการบินอินเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดรับนักศึกษาทั้งหมด 2 รอบ ได้แก่ รอบพอร์ตและรอบโควตารับตรง โดยมีเกณฑ์การพิจารณารับเข้าศึกษา ดังนี้
- เกณฑ์การพิจารณารับเข้าศึกษา (รอบพอร์ต) จำนวน 33 คน
- ผลการศึกษา (GPAX) : 30%
- ผลการทดสอบความถนัดทางภาษาอังกฤษ : 20%
- Portfolio : 35%
- การสอบสัมภาษณ์ : 15%
- เกณฑ์การพิจารณารับเข้าศึกษา (รอบโควตา) จำนวน 15 คน
- ผลการศึกษา (GPAX) : 7.5%
- ผลการทดสอบความถนัดทางภาษาอังกฤษ : 20%
- ผลการทดสอบความถนัดทางคณิตศาสตร์ : 32.5%
- ผลการทดสอบความถนัดทางวิทยาศาสตร์ : 40%
- การสอบสัมภาษณ์
อัตราค่าเทอมของวิศวะการบินอินเตอร์ จุฬาฯ
สำหรับอัตราค่าเทอมของนิสิตไทยจะอยู่ที่ 25,500 บาท เท่ากันทุกสาขา แต่จะมีค่าธรรมเนียมพิเศษเพิ่มเติมอีกภาคการศึกษาละ 84,000 บาท สำหรับหลักสูตรวิศวะการบินอินเตอร์ รวมแล้วค่าธรรมเนียมการศึกษาจะอยู่ที่ 109,500 บาทต่อภาคการศึกษา
วิศวะการบินอินเตอร์ ลาดกระบัง (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)
ในส่วนของหลักสูตรวิศวะการบินอินเตอร์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จะใช้ชื่อหลักสูตรว่า วิศวกรรมการบินและอวกาศ (นานาชาติ) โดยอยู่ในสังกัดของวิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ (IAAI – International Academy of Aviation Industry) เป็นหลักสูตรนานาชาติที่ผสมผสานความรู้ทางด้านวิศวกรรม ทั้งการซ่อมบำรุงอากาศยาน วิทยาการข้อมูลการบินและอวกาศ และอากาศยานไร้คนขับ UAV (Unmanned Aerial Vehicle) โดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริง เพื่อผลักดันให้ผู้เรียนสามารถประกอบอาชีพได้ทั้งสายงานอากาศยานไร้คนขับ รวมทั้งสายงานด้านวิศวกรอากาศยานและอวกาศ
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อของวิศวะการบินอินเตอร์ ลาดกระบัง
รับผู้ที่สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์- คณิตศาสตร์ โดยมีเกรดเฉลี่ย 3.0 ขึ้นไป หรือวุฒิการศึกษาอื่น ๆ ที่เทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาจากสถานศึกษาที่ กพ. รับรอง โดยผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตร GED ผู้สมัครต้องมีคะแนน TGAT, TPAT3, A-Level Math1 และ A-Level Eng
ผลการทดสอบวัดระดับ ดังนี้
รอบการรับสมัครนักศึกษาของวิศวะการบินอินเตอร์ ลาดกระบัง
วิศวะการบินอินเตอร์ ลาดกระบัง เปิดรับนักศึกษาทั้งหมด 4 รอบ ได้แก่
- รอบพอร์ต (Portfolio) จำนวน 85 คน
- รอบโควต้ารับตรง จำนวน 90 คน
- รอบแอดมิชชัน (Admission) จำนวน 30 คน มีเกณฑ์การคำนวณคะแนนพิจารณารับเข้าศึกษา ดังนี้
- ความถนัดทั่วไป (TGAT) : 10%
- ความถนัดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ (TPAT3) : 40%
- A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (พื้นฐาน+เพิ่มเติม) : 25%
- A-Level ภาษาอังกฤษ : 25%
- รอบรับตรงอิสระ จำนวน 10 คน
อัตราค่าเทอมของวิศวะการบินอินเตอร์ ลาดกระบัง
สำหรับอัตราค่าเทอมของหลักสูตรวิศวกรรมการบินและอวกาศ (นานาชาติ) ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จะอยู่ที่ 90,000 บาทต่อภาคการศึกษา