Skip to content

ข้อสอบ SAT Verbal รอบล่าสุดปี 2022

SAT VERBAL 2022

ข้อสอบ SAT Verbal 2022 ยากไหมนะ? น้อง ๆ ที่เพิ่งสอบ SAT รอบแรกของปีที่ผ่านมา เป็นอย่างไรกันบ้าง ได้ผลคะแนนเป็นไปตามเป้าหมายกันไหม? หลาย ๆ คน อาจจะพอใจกับผลคะแนนแล้ว บางส่วนอาจจะกำลังเตรียมตัวสำหรับการสอบรอบต่อไป เพื่ออัปคะแนนหรือทดลองสนามสอบกัน วันนี้ พี่กริฟฟินมาวิเคราะห์เนื้อหาข้อสอบล่าสุดของ SAT Verbal กัน ข้อไหนพีค ๆ บ้าง มาติดตามกันเลย

ข้อสอบ SAT Verbal ส่วนที่ 1 Critical Reading

รู้หรือไม่ว่า คำถามของข้อสอบ SAT ในการสอบแต่ละรอบจะออกแนวซ้ำ ๆ หรือคล้ายคลึงกัน แต่มีความแตกต่างกันเพียงตัวเนื้อเรื่องและคำตอบ ซึ่งจุดนี้เองที่หากน้อง ๆ ได้มีโอกาสฝึกฝน ทำแบบฝึกหัดและข้อสอบเก่า ๆ อย่างสม่ำเสมอ จนเกิดความคุ้นเคยและเข้าใจความต้องการของแนวคำถามต่าง ๆ ได้ล่วงหน้านั้น เราจะมีโอกาสทำคะแนนได้มากขึ้นนั่นเอง ในส่วนของ Reading หรือ พาร์ทการอ่านนั้น มีคำถามแนวไหนบ้างที่ยังไงก็ต้องออก มาดูกัน

Big Picture Questions

คำถาม Big Picture หรือ คำถามภาพรวม คือ โจทย์ที่ต้องการใจความหลักของเนื้อเรื่อง ซึ่งในตัวข้อสอบจะมีคำถามแนวนี้มาใน 2 รูปแบบ

Central Claim / Main idea of the passage
Primary purpose of the passage
หากเราสังเกตที่ keyword ดี ๆ จะพบว่าทั้งสองแนวนี้แม้จะเป็นคำถามภาพรวม แต่มีจุดประสงค์ไม่เหมือนกัน โดยแบบที่ 1 จะเป็น “What” หรือ “อะไร” เช่น “ใจความหลักของเรื่องนี้คืออะไร?” ในขณะที่แบบที่ 2 จะเป็น “Why” หรือ “ทำไม” เช่น “จุดประสงค์ของเรื่องนี้ต้องการจะสื่ออะไร / ทำไมผู้เขียนถึงเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา?”

คำถาม Big Picture นั้นเป็นคำถามที่เราจะสามารถตอบได้เมื่อ อ่านเนื้อเรื่องทั้งหมด หรือ ทำคำถามข้ออื่นก่อน ค่อย ๆ รวบรวมใจความมาประกอบเป็นภาพรวม นั่นเอง

โดยปกติแล้วคำถาม Big Picture จะมีอยู่ในข้อสอบพาร์ท Reading ประมาณ 10-12 ข้อต่อข้อสอบหนึ่งชุด หรือราว ๆ 2-3 ข้อต่อหนึ่ง Passage (เนื้อเรื่อง) น้อง ๆ สามารถดูแบบอย่างคำถามในรูปประกอบด้านล่างนะครับ

Reasonable Inferences

คำถามแนวนี้ คือ การ “สรุปใจความ” หรือ “สกัดไอเดีย” จากประโยคที่ถูกเจาะจงไว้ในคำถาม หรือหากจะเปลี่ยนคำพูดให้เข้าใจง่ายมากขึ้น คำถามแนวนี้ถามว่า “คนเขียนพยายามสื่อว่าอะไร?” นั่นเอง

สำหรับในพาร์ท Reading แล้ว นี่อาจจะเป็นแนวคำถามหลัก ๆ เลยก็ว่าได้ เพราะเป็นการเน้นไปที่การคิดวิเคราะห์ความหมายของประโยคและเป็นการพยายามเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนพยายามจะสื่อออกมา

จุดสังเกตที่เราสามารถระบุได้ทันทีว่านี่คือคำถาม Inference คือ keywords ต่อไปนี้ในคำถาม

“It can reasonably be inferred that…”
“The passage / author indicates that…”
“The passage / author suggests that…”
“The passage / author implies that…”

คำถาม Reasonable Inferences นั้น จะมีอยู่ประมาณ 14-15 ข้อต่อหนึ่งชุดข้อสอบ หรือราว ๆ 3-4 ข้อต่อ Passage โดยหน้าตาของคำถามสามารถดูได้ในรูปข้างล่าง

Evidence Questions / Line Reference Questions

คำถามแนวนี้มุ่งเน้นไปที่การหา “หลักฐาน” หรือ “evidence” ที่สามารถใช้มาอ้างอิงกับคำตอบได้ ลักษณะเด่นของคำถามนี้คือการที่ตัว Answer choices จะไม่มีคำพูด แต่จะมี “ตัวเลขบรรทัด” หรือ “Line references” มาให้ ซึ่งเราสามาถอิงตามตัวเลขบรรทัดเหล่านี้ในการหาคำตอบได้นั่นเอง

อีกจุดเด่นจุดหนึ่งของคำถามแนวนี้ คือ บางครั้งคำถามนี้จะพ่วงมากับคำถาม Reasonable inferences ได้เช่นกัน ซึ่งจุดประสงค์ของข้อสอบคือต้องการทดสอบว่า นอกจากจะสามารถทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนพยายามสื่อได้แล้ว ผู้สอบต้องสามารถหาหลักฐานมาอ้างอิงได้ด้วย

คำถาม Evidence Questions นั้น มีจำนวนคร่าว ๆ ทั้งหมด 10 ข้อต่อข้อสอบหนึ่งชุด หรือประมาณ 2-3 ข้อ ต่อ Passage สำหรับคำถามที่พ่วงมากด้วยกัน (Inference + Evidence) นั้น ในหนึ่ง Passage จะมีประมาณ 2 คู่

Vocabulary in Context

คำถามนี้ตามชื่อเลย ก็คือ “คำศัพท์ตามบริบท” ซึ่งรูปแบบคำถามนี้ต้องการความหมายของคำศัพท์ที่ถูกเจาะจงมา ซึ่งคำถามนี้มีในทุก Passage ประมาณ 2 ข้อ หรือโดยรวมแล้วประมาณ 8-9 ข้อต่อข้อสอบ 1 ชุด

Infographics

สำหรับรูปแบบคำถามสุดท้ายคือ “การอ่านภาพข้อมูล” ซึ่งคือการที่ผู้สอบจะต้องวิเคราะห์ กราฟ ชาร์ต ตาราง และตอบคำถามให้ถูกต้อง

คำถาม Infographics จะถูกพบได้ใน Passage Social Science (เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ สังคมศาสตร์ เช่น จิตวิทยา ธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น) และ Natural Science (เนื้อหาวิทยาศาสตร์ เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี เป็นต้น) เท่านั้น โดยจะมีคำถามประมาณ 2-3 ข้อต่อหนึ่ง Passage

ข้อสอบ SAT Verbal ส่วนที่ 2 Writing and Language

เช่นเดียวกับพาร์ท Reading ใน Section ที่ 2 อย่างพาร์ท Writing นั้น แนวคำถามมักจะออกแนวซ้ำกันในแต่ละรอบสอบ ซึ่งหมายความว่าหากเราทบทวนและฝึกฝนทำโจทย์คำถามอย่างสม่ำเสมอก่อนสอบ โอกาสที่เราจะได้คะแนนสูงก็จะมีมากขึ้น สำหรับพาร์ทนี้มีคำถามที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบกว้าง ๆ ดังนี้

Grammatical Errors – การแก้ไขไวยากรณ์ให้ถูกต้อง
Editing – การแก้ไขใจความประโยค
เริ่มจากแนวแรกกันก่อนเลย:

Verb-Tense Agreement

นี่อาจจะเรียกว่าเป็นคำถามพื้นฐานที่สุดของ SAT Writing เลยก็ว่าได้ เพราะมุ่งเน้นไปที่ความเข้าใจว่าใน Passage / Paragraph / Sentence นี้ควรใช้ Tense (รูปกาลเวลา) แบบไหน โดยผู้สอบจะต้องสังเกต Subject และ Verb ของประโยคให้ดี ๆ เพื่อเลือก Tense ให้ถูกต้อง

คำถามแนวนี้โดยส่วนมากจะมี 4 ข้อต่อข้อสอบหนึ่งชุด หรือ 1 ข้อต่อ 1 Passage นั่นเอง

Punctuations

คำถามรูปแบบนี้คือการทดสอบเรื่องการใช้ “เครื่องหมายวรรคตอน” ซึ่งมีอะไรบ้าง มาดูกัน

Comma (,)
Semicolon (;)
Colon (:)
Dash (-)
การรับมือกับคำถามนี้อยู่ที่การทำความเข้าใจถึงการใช้งานของ Punctuations แต่ละตัวได้ เช่น Comma ใช้สำหรับเชื่อมประโยคใจความสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์เข้าด้วยกัน หรือ Semicolon เอาไว้สำหรับแบ่งประโยคออกจากกัน เป็นต้น

คำถามแนวนี้จะมีจำนวนประมาณ 13-15 ข้อ ต่อข้อสอบ 1 ชุด หรือ ประมาณ 3-4 ข้อ ต่อ 1 Passage

Sentence Structure

คำถามนี้เน้นเรื่องการเรียบเรียงประโยคให้ถูกต้อง ซึ่งวิธีตอบคำถามนี้ จะต้องอาศัยความรู้พื้นฐานในการเขียนประโยค เช่น Subject มาก่อน ตามด้วย Verb หรือ Adjective ควรอยู่หน้าหรือหลัง Noun และ ควรใส่ Adverb ตรงไหน เป็นต้น

คำถามแนวนี้จะมีประมาณ 6-8 ข้อต่อข้อสอบ 1 ชุด หรือประมาณ 2 ข้อต่อ 1 Passage นั่นเอง

แนวคำถามแบบที่ 2 ของ Writing คือ Editing หรือการแก้ไขใจความประโยค ซึ่งเน้นที่ไป ไอเดียหรือเนื้อหาใน Passage / Paragraph / Sentence นั้น หากจะให้เจาะจงไปที่ตัวพีคๆ ก็จะมีดังนี้

Sentence Placement

คำถามย้ายประโยค คือ ตัวคำถามจะระบุว่า ประโยคดังกล่าวควรย้ายไปอยู่ตรงไหนของย่อหน้านั้น ๆ ซึ่งเราจะต้องทำเข้าใจในความหมายของประโยคดังกล่าว และดูว่ามันควรย้ายไปตรงไหน หรือ ควรจะอยู่ที่เดิมหรือไม่ นอกจากการย้ายประโยคแล้ว บางครั้งข้อสอบจะให้เราย้ายทั้ง Paragraph เลยก็มี (แต่คำถามนี้หายากมากและนาน ๆ จะมีออกที)

วิธีรับมือกับแนวคำถามนี้ ผู้สอบจะต้องแม่นยำในเรื่อง Transition และ Pronoun References มาก ๆ เพราะปัจจัยทั้งสองนี้จะสามารถช่วยให้เราหาคำตอบที่ถูกต้องได้

ในข้อสอบ 1 ชุด จะมีคำถามนี้ประมาณ 2-3 ข้อเท่านั้น หรือ จาก 4 Passages ทั้งหมด จะมีเพียงแค่ 3 Passages เท่านั้น ที่มีคำถามแนวนี้อย่างละ 1 ข้อ

Relevance & Purpose

คำถามการ ใส่ / ตัด ประโยค เป็นคำถามที่ทดสอบทักษะการวิเคราะห์ว่า ประโยคที่ถูกระบุมามีความเชื่อมโยงกับใจความของ Passage / Paragraph ทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งคำถามแนวนี้สังเกตง่าย ๆ ว่า ตัว Answer Choices จะออกมาในรูปแบบนี้

“Yes / Kept, because …”
“No / Deleted, because…”
นอกจากจะต้องตอบว่า “ควรใส่ / ไม่ควรใส่” หรือ “เก็บไว้ / ตัดออก” แล้วยังต้องสามารถระบุเหตุผลได้ด้วยว่า ทำไมถึงเลือกข้อดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นแนวคำถามที่ค่อนข้างจะใช้เวลาในการหาคำตอบ และต้องอาศัยความเข้าใจในเชิงการอ่านอีกด้วย

คำถามแนวนี้มีประมาณ 2 ข้อ ต่อข้อสอบ 1 ชุด หรือจะมีเพียงแค่ 2 Passages เท่านั้น ที่มีคำถามแนวนี้อย่างละ 1 ข้อ

Transitions

คำถามการใช้ “คำเชื่อม” ระหว่าง Paragraph หรือ Sentence ซึ่งจะเป็นการเน้นไปที่การดู การเชื่อมโยงของใจความที่มาก่อนหน้านี้ กับ ใจความที่จะตามมาว่า

ขัดแย้งกันหรือไม่ (Contrast)
สนับสนุนกันหรือไม่ (Continuer)
เป็นเหตุและเป็นผลต่อกันหรือไม่ (Cause and Effect)
เป็นตัวเปิดประเด็น และ ตามคำอธิบายตัวอย่างหรือไม่ (Examples/ Expositions)
มองผิวเผินจะรู้สึกว่าคำถามนี้ดูไม่มีอะไรซับซ้อนมาก แต่จริง ๆ แล้วเป็นคำถามที่อาจจะต้องใช้เวลาคิดวิเคราะห์ค่อนข้างเยอะทีเดียว เพราะผู้สอบไม่ได้ดูแค่ตัวเชื่อม แต่ต้องดูประโยคก่อนหน้าและประโยคที่ตามมาข้างหลัง และหากเป็นโจทย์ที่จะให้เราเชื่อมใจความระหว่าง Paragraph ก่อนหน้า และ Paragraph อันต่อมา ก็หมายความว่า ต้องเข้าใจ Main Idea ของทั้งสองย่อหน้านี้ก่อน จึงจะสามารถหาคำเชื่อมที่ถูกต้องได้นั่นเอง

คำถาม Transitions มีจำนวนประมาณ 8-10 ข้อต่อข้อสอบ 1 ชุด หรือ ประมาณ 2-3 ข้อต่อ 1 Passage

ทั้งหมดเหล่านี้คือ คำถามสุดพีค ของ ข้อสอบ SAT Verbal และแน่นอนว่าจะเป็นแนวคำถามที่น้อง ๆ จะต้องเผชิญในรอบ May หรือ รอบต่อ ๆ ไปในปี 2022 นี้ พี่ ๆ จาก House of Griffin แนะนำให้น้อง ๆ ฝึกฝนทำโจทย์เพื่อสร้างความคุ้นเคย และลดโอกาสความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นตอนวันสอบจริงกัน

หากใครสนใจที่จะเรียนรู้ ทริคและเทคนิคเพื่อให้ได้คะแนน Verbal ปัง ๆ มัดใจเกณฑ์มหาวิทยาลัยในฝันของเราได้ สามารถติดต่อมาที่ House of Griffin ได้เลย

Share this article